ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำพหุปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา

Main Article Content

ณิรดา เวชญาลักษณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำพหุปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำพหุปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 52 แห่ง จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .980 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำตามแนวคิดพหุปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาของผู้บริหารโgarสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำพหุปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
เวชญาลักษณ์ ณ. (2023). ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำพหุปัญญาของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 131–144. https://doi.org/10.14456/jra.2023.11
บท
บทความวิจัย

References

กันยมาส ชูจีนและคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 20-33.

โกสินทร์ สังกัดกลางและคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.), 27(3), 216-227.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยศวดี ดำทรัพย์และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 272-293.

รัฐรพี พิพัฒน์ธนวงศ์และคณะ. (2562). การพัฒนาปัญญามนุษย์เชิงบูรณาการแนวพุทธ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(4), 155-167.

รัตนา กลุ่มแก้วและคณะ. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(35), 173-182.

วรรณา เฟื่องฟู. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ศิริโชค เจริญราชและคณะ. (2564). การศึกษาปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(2), 10-22.

สำนักงานการปฏิรูปการศึกษา. (2544). การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานการรูปการศึกษา (สปศ). องค์กรมหาชนเฉพาะกิจ.

สิริพร โยศรีธา. (2564). แนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาอำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 91-101.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 183-193.

Gardner, H. (2007). Five minds for the future. Boston, Mass.: Harvard Business School Press.

Greenberg, J. & Baron, R.A. (2003). Behavior in Organizational. (7th ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2013). Educational administration: Theory, research, and practice. (9th ed). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.