ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Main Article Content

วสันต์ ชวกิจไพบูลย์
สายทิตย์ ยะฟู
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารของโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน และ 3) หาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำนวน 285 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารของโรงเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และแบบสอบถามการระดับการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.56, S.D. = 0.57) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การไว้วางใจ (gif.latex?\bar{X} = 4.59, S.D. = 0.58) รองลงมา คือ การทำงานแบบเป็นทีม (gif.latex?\bar{X} = 4.59, S.D. = 0.59) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ จินตนาการ ( gif.latex?\bar{X}= 4.53, S.D. = 0.59) 2) ระดับการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.60, S.D. = 0.54) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ (gif.latex?\bar{X} = 4.64, S.D. = 0.53) รองลงมา คือ การส่งเสริม สนับสนุนให้พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา (gif.latex?\bar{X} = 4.63, S.D. = 0.53) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการวิจัย (gif.latex?\bar{X} = 4.51, S.D. = 0.58) และ 3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (rxy = 0.89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าความสัมพันธ์สูงสุด คือ การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้ (rxy = 0.87) รองลงมา คือ การพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ วางแผน ทบทวน จัดทำ และพัฒนา หลักสูตรโรงเรียน (rxy = 0.86) และด้านที่มีค่าความสัมพันธ์ต่ำที่สุด คือ การส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการวิจัย (rxy = 0.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ชวกิจไพบูลย์ ว. ., ยะฟู ส. ., & โพธิพิทักษ์ ป. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 161–176. https://doi.org/10.14456/jra.2023.12
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญฤทัย ภู่สาระ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จันจิรา น้ำขาว. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีระพงศ์ ธนเจริญรัตน์. (2553). หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารอู่กลางการประกันภัย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุศรา ปุณริบูรณ์. (2559). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เบ็ญจมาศ หนูไชยทอง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

เพ็ญนภา ศรีภูธร. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ภรณ์ทิพย์ ปั้นก้อง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วินา สุทธิโพธิ์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียนสามมิติ การพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ศักดา ทองดี. (2560). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), 182-184.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (2564). วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์. เข้าถึงได้จาก https://www.cnt.go.th/cnt/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). แนวทางการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย.

สุทธิชัย นาคะอินทร์. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุรศักดิ์ ปักการะโถ. (2560). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุรศักดิ์ เล็กวงษ์. (2563). บทบาทภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุวิมล โตปิ่นใจ. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางบ่อ 2 อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Paul T Sowden, Leah Dawson. (2011). Creative feelings: the effect of mood on creative ideation and evaluation. United Kingdom: University of Surrey.