ความสัมพันธ์ของจริตกับหลักปฏิบัติกัมมัฏฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของจริต 6 กับการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของจริต 2 กับการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของจริตกับหลักปฏิบัติกัมมัฏฐาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา และคัมภีร์วิสุทธิมรรค วิมุตติมรรค คัมภีร์เนตติปกรณ์ เอกสาร ตำรา และงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้มีราคจริตให้ปฏิบัติ คือ อสุภ 10 กับกายคตาสติ ผู้มีโทสจริตให้ปฏิบัติ คือ พรหมวิหาร 4 และวัณณกสิณ 4 ผู้มีโมหจริต และวิตกจริตให้ปฏิบัติ คือ อานาปานสติ ผู้มีสัทธาจริตให้ปฏิบัติในอนุสสติ 6 อย่างเบื้องต้น ผู้มีพุทธิจริตให้ปฏิบัติ คือ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน ส่วน อรูป 4 ภูตกสิณ 4 อาโลกกสิณ และอากาสกสิณนั้นเหมาะกับบุคคลทุกจริต 2) สำหรับผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน และผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน ให้ปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญากล้า และผู้เป็นสมถยานิกมีปัญญากล้า ให้ปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน และผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน ให้ปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า และผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญากล้า ให้ปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานและ 3) จริตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการปฏิบัติทั้งสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน จริต 6 สัมพันธ์กับสมถะเป็นหลักดังราคจริตกับการปฏิบัติอสุภกัมมัฏฐาน 10 หรือกายคตาสติ ย่อมระงับดับนิวรณ์ จิตเป็นสมาธิแน่วแน่จนถึงฌาน ส่วนจริต 2 สัมพันธ์กับวิปัสสนาด้วยการปฏิบัติในสติปัฏฐาน 4 ทำเกิดนิพพิทาเบื่อหน่าย คลายจากตัณหา เกิดญาณปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดำเนินไปถึงนิพพานได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมการโครงการจัดสร้างพระไตรปิฎกนิสสยะ. (2554). พระไตรปิฎกนิสสยะ [ฉบับพิเศษ] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ราชบุรี: เมืองราชการพิมพ์.
พร รัตนสุวรรณ. (2536). สมาธิและวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน เล่ม 3. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิญญาณ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมบูรณ์ ตาสนธิ. (2555). พระอรหันตสาวกบรรลุธรรมได้อย่างไร. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.
สุภีร์ ทุมทอง, ธานี สุวรรณประทีป และวิโรจน์ คุ้มครอง. (2563). ปราโมทย์และปีติ ธรรมสมาธิ. นนทบุรี: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.