ความสัมพันธ์ของศิลปกรรมวัดราษฎร์กับชุมชนในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

Main Article Content

พรรณภัทร เพ็ชรอุไร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศิลปกรรมวัดราษฎร์ที่ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อของชุมชนในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาใน 2 ด้าน คือ ด้านองค์ประกอบของศิลปกรรมภายในวัด รวมไปถึงประวัติความเป็นมาของวัด และในด้านของชุมชน ศึกษาวัฒนธรรม คติ ความเชื่อของชุมชน ที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบศิลปกรรมกับภายในวัด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร ประกอบไปด้วยเอกสารทางประวัติศาสตร์ หนังสือ และผลงานวิชาการ ร่วมกับสำรวจข้อมูลภาคสนามในพื้นที่จริง จากนั้นเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อวิเคราะห์คติ ความเชื่อของชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบของศิลปกรรมในวัดราษฎร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัดราษฎร์ ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จำนวน 4 วัด ได้แก่ วัดพระพิเรนทร์ วัดสิตาราม วัดคณิกาผล และวัดสุนทรธรรมทาน ทั้งหมดเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่มีประวัติค่อนข้างยาวนาน และเป็นศูนย์กลางของชาวบ้านโดยรอบมาโดยตลอด พบว่าศิลปกรรมส่วนใหญ่ภายในวัดนั้นได้รับการปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังปรากฏศิลปกรรมที่สะท้อนคติ ความเชื่อ ของชุมชนรอบวัดที่นอกเหนือไปจากพุทธมหานิกายออกมา แบ่งเป็นศิลปกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองศรัทธาทางศาสนา อาทิ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศิลปกรรมอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์หรือระลึกถึงบุคคลสำคัญของวัด ที่เวลาต่อมาได้กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดไป ซึ่งศิลปกรรมจากความเชื่อของชุมชนเหล่านี้ทำให้วัดราษฎร์นั้นมีความน่าสนใจและแตกต่างไปจากวัดหลวง เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเพิ่มขึ้นมาได้ตามศรัทธาของชาวบ้าน และได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ดึงดูดให้คนเข้าวัดมากขึ้น

Article Details

How to Cite
เพ็ชรอุไร พ. (2023). ความสัมพันธ์ของศิลปกรรมวัดราษฎร์กับชุมชนในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย . วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 191–206. https://doi.org/10.14456/jra.2023.14
บท
บทความวิจัย

References

กองพุทธศาสนสถาน. (2525). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร. (2542, 22 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 32ง หน้า 53.

คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี. (2525). จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ลับแล ศรีพนมมาศ. (2500). ประวัติวัดสุนทรธรรมทาน และความรู้เรื่องพระอุโบสถ. พระนคร: โรงพิมพ์บริษัทไทยหัตถการพิมพ์. (พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพิธีลงเสาเข็มวางศิลาฤกษ์สร้างพระอุโบสถ วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค-นางเลิ้ง)).

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2551). ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มติชน.

สมคิด จิระทัศนะกุล โชติมา จตุรวงศ์ และชาญวิทย์ สรรพศิริ. (2548). รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวัดในพุทธศาสนาในชุมชนท้องถิ่น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2514). ประชุมพระนิพนธ์เกี่ยวกับตำนานทางพระพุทธศาสนา. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพคุณาธาร (ผล ชินปุตฺโต) ณ ฌาปนสถานวัดพระพิเรนทร์ 21 มีนาคม 2514).

เอดเวิร์ด คอนซ์. (2552). พุทธศาสนา: สาระและพัฒนาการ. (นิธิ เอียวศรีวงศ์, ผู้แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.