การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ

Main Article Content

กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว
โสมฉาย บุญญานันต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และ 2) สร้างชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยการทบทวนเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลเชิงลึก โดยการสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเป็นชุดกิจกรรม โดยนำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60-79 ปี ที่ยังมีร่างกายแข็งแรง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ สำหรับอาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาภาพพิมพ์ ศิลปินภาพพิมพ์ ผู้จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนชรา ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2) แบบสอบถามสำหรับผู้สูงอายุ 3) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้สูงอายุ โดยนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะของกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ควรมีแบบแผนที่เป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน ผู้จัดกิจกรรมควรเตรียมทั้งแม่พิมพ์ที่ให้ผู้สูงอายุสามารถใช้สร้างสรรค์เองได้ และแม่พิมพ์ที่พร้อมใช้งาน การร่วมกิจกรรมต้องเกิดจากความสมัครใจของผู้สูงอายุ และผู้จัดกิจกรรมต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย และ 2) ชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) ทำสีพิมพ์ 2) พิมพ์ภาพด้วยการพับ 3) พิมพ์ภาพด้วยกระดาษลัง 4) พิมพ์ภาพผ่านช่องฉลุ 5) พิมพ์ภาพผ่านร่องลึก ผลการประเมินสุขภาวะของผู้สูงอายุหลังทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษ มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก (3.32) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (0.19) และมีความเห็นว่ากิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก (3.56) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (0.22) 

Article Details

How to Cite
เกตุแก้ว ก., & บุญญานันต์ โ. . (2023). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ . วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 305–322. https://doi.org/10.14456/jra.2023.46
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สุขภาพผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/444

ชญตว์ อินทร์ชา. (2561). การศึกษาศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคเพลทแม่พิมพ์เจลลาตินด้วยการใช้สีธรรมชาติในท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(2), 109-124.

ชญตว์ อินทร์ชา. (2564, 21 มกราคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).

ชลิต นาคพะวัน. (2561). ศิลปะบำบัดโบกมือลาความเหงา. เข้าถึงได้จาก www.thaipost.net/ main/detail/16438

ญาณวิทย์ กุญแจทอง. (2548). ป่าสงวน ภาพพิมพ์สีธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง.

ญาดารัตน์ บาลจ่าย และคณะ. (2561). ศิลปะเพื่อการบําบัดในผู้สูงอายุ. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 195-209.

ณอัญญา สาวิกาชยะกูร. (2564, 4 ตุลาคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).

ณัฐชนน มิคะนุช และคณะ. (2555). สุนทรียกับงานทัศนศิลป์. เข้าถึงได้จาก cg1-1.blogspot. com/p/reference.html

ธงชัย ยุคันตพรพงษ์. (2551). การทำศิลปะภาพพิมพ์โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และปลอดมลพิษ. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสพ ลี้เหมือดภัย. (2543). ศิลปะนิยม. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ปาริชาติ ศุภพันธ์. (2564, 16 กุมภาพันธ์). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).

พิมพ์พันธุ์ ศรีพิพิธ. (2564, 20 กรกฎาคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).

โรงพยาบาลมโนรมย์. (2565). ศิลปะบำบัด. เข้าถึงได้จาก https://www.manarom.com /art_therapy_thai.html

ลัดดา เถียมวงศ์ และคณะ. (2551). การพัฒนาและทดสอบคุณสมบัติของเครื่องมือประเมินการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วาทินี บุญชะลักษี และยุพิน วรสิริอมร. (2539). ผู้สูงอายุในประเทศไทย ในกุศล สุนทรธาดา (บรรณาธิการ). จุดเปลี่ยนนโยบายประชากรประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วาสินี สุขแล้ว. (2558). รูปแบบการจัดกิจกรรมภาพพิมพ์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เศรษฐภูมิ เถาชารี และคณะ. (2562). รูปแบบการเสริมสร้างสัมพันธภาพของผู้สูงอายุในชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 ริมคลองประปา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 91-108.

สุรชัย เอกพลากร. (2564, 13 กรกฎาคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).

อังคณา บุญขวัญ. (2564, 19 พฤศจิกายน). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).

White, L. M. (2002). Printmaking as therapy: Frameworks for freedom. London, UK: Jessica Kingsley Publishers.