ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศของชุมชนชายฝั่งชายแดนภาคตะวันออก ของตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Main Article Content

สิตางศ์ เจริญวงศ์
วงธรรม สรณะ
เชษฐ์ณรัช อรชุน
ชูวงศ์ อุบาลี
อังศุมาริน สุชัยรัตนโชค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศของตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นงานวิจัยแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเสริมจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบอุปนัย ตีความข้อมูลจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมโดยจำแนกชนิดข้อมูล ออกเป็น 2 แบบ คือ การวิเคราะห์แบบใช้ทฤษฎี และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่นำไปสู่ความเข้าใจต่อการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศจำแนกได้ 8 ประการ 1) ด้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศมีแหล่งท่องเที่ยวที่นำมาสนับสนุนให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ อาทิ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ,แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนชายแดน 2 แผ่นดิน,แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางด้านการอนุรักษ์และการเรียนรู้ 2) ด้านอาหารมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านอาหาร การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ทำให้มีสัตว์ทะเล 3) ด้านที่พักที่จัดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวแบบรีสอร์ตและแบบโฮมเสตย์ 4) ด้านความปลอดภัยมีการเตรียมพร้อมจากภาครัฐและภาคประชาชน 5) ด้านเครือข่ายในการจัดการท่องเที่ยวที่สนับสนุนให้ชุมชนบ้านหาดเล็กจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ ประกอบด้วย เครือข่ายภาครัฐ เอกชนและประชาชน 6) ด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศโดยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชมชนเป็นฐาน 7) ด้านการให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกชาวบ้านเรียนรู้ นำมาสู่การเสริมสร้างจิตสำนึกในการเห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติระบบนิเวศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ 8) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนมีตัวแทนจากไตรภาคีให้มีส่วนร่วมและรับรู้ในการขับเคลื่อนภารกิจเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชนได้อย่างมั่นใจส่งผลทำให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม

Article Details

How to Cite
เจริญวงศ์ ส. ., สรณะ ว. ., อรชุน เ. ., อุบาลี ช. ., & สุชัยรัตนโชค อ. . (2023). ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศของชุมชนชายฝั่งชายแดนภาคตะวันออก ของตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 145–160. https://doi.org/10.14456/jra.2023.25
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด. เข้าถึงได้จาก https://www. museumthailand.com/th/794/storytelling.

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

พระราชบัญญัติการประมง. (2558, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม132 ตอนที่ 34 ก, หน้า 1-41.

ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์. (2557). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน บ้านหัวนอนวัด ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิชัย กิมสร้อย. (2564, 3 เมษายน). ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศของชุมชน. (นางสาววงธรรม สรณะ, ผู้สัมภาษณ์).

ศรวุฒิ ขาวคม. (2564, 3 เมษายน). ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศของชุมชน. (นางสาวสิตางค์ เจริญวงศ์, ผู้สัมภาษณ์).

สมประสงค์ ช่อลัดดา. (2564, 26 สิงหาคม). ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศของชุมชน. (นางสาวสิตางค์ เจริญวงศ์, ผู้สัมภาษณ์).

หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวประมงพื้นบ้านเพื่อสนับสนุนเมืองเก่าสงขลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 8(1), 32-41.

World Tourism Organization. (2004). Indicators of Sustainable Development for Tourism Destinations A Guidebook. Retried from https://www.e-unwto.org/doi/book/10.18111/9789284407262.