ว่าด้วยหลักนิติรัฐ

Main Article Content

โกเมศ ขวัญเมือง
พระเทพปริยัติเมธี
สุกัญญาณัฏฐ อบสิน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาหลักนิติรัฐ พบว่า หลักการสำคัญของกฎหมายมหาชนที่เรียกร้องให้รัฐมีการปกครองที่ดี ตามที่หลักนิติรัฐเรียกร้องก็คือ “การปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่การปกครองโดยคน” ซึ่งมีรากเหง้าจากข้อเสนอของอริสโตเติล ในวรรณกรรมชื่อ “การเมือง” ที่อริสโตเติลได้พูดถึงการปกครองที่ดีคือ “การปกครองโดยกฎหมาย เป็นเรื่องที่พึงปรารถนามากกว่าการปกครองโดยมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ตาม” ภายหลังจากที่กรุงโรมได้ถูกทำลายโดยชนเผ่าเยอรมานิค ใน ปี ค.ศ. 476 นักนิติศาสตร์ชาวเยอรมันได้นำแนวคิดเกี่ยวกับ “สิ่งสาธารณะ” ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของหลักนิติรัฐผสมผสานกับแนวคิดกฎหมายของชนชาวเยอรมัน อันทำให้เกิด “ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมานิค” ที่มีอิทธิพลต่อระบบประมวลกฎหมายในประเทศภาคพื้นยุโรปและเป็นรากฐานสำคัญของหลักนิติรัฐ เป็นหลักที่ยึดถือและยึดมั่นในหลักการที่ว่าการปกครองที่ดี คือ “การปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่โดยคน” ต่อมาภายใต้ความคิดการปกครองโดยกฎหมายของนักคิดในยุคร่วมสมัยปัจจุบัน มีความเห็นร่วมกันว่าในรัฐเสรีประชาธิปไตยปัจจุบันนั้น หลักนิติรัฐเรียกร้องว่า แม้รัฐจะมีอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดก็ตาม แต่รัฐสมัยใหม่ที่เป็นรัฐเสรีประชาธิปไตย จะต้องเคารพกฎหมายและผูกพันตนเองด้วยกฎหมายที่รัฐสร้างขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีอำนาจเหนือปัจเจกชนไม่ให้ใช้อำนาจในการตรากฎหรือออกคำสั่งทางปกครอง สั่งการให้ปัจเจกชนกระทำการหรือละเว้นการกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และแม้ว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจดังกล่าวไว้ก็ตาม แต่จะต้องใช้อำนาจนั้นภายในกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น จึงอาจจะกล่าวได้ในที่สุดว่า หลักนิติรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจรัฐโดยอำเภอใจ

Article Details

How to Cite
ขวัญเมือง โ. ., พระเทพปริยัติเมธี, & อบสิน ส. . (2023). ว่าด้วยหลักนิติรัฐ. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 317–326. https://doi.org/10.14456/jra.2023.24
บท
บทความวิชาการ

References

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2553). กฎหมายมหาชน: ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2537). กฎหมายมหาชน: การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2526). นิติปรัชญา ภาคสอง: บทนำทางประวัติศาสตร์. คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิษณุ เครืองาม. (2526). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายมหาชน หน่วยที่ 2 ปรัชญารากฐานในกฎหมายมหาชน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Gounelle, M. (1989). Introduction areau droit public. Paris: Monutchrestien.

Jowett, B. (1926). Aristotle's Politics. Oxford: Clarendon Press.

Shorey, P. (1903). The Unity of Plato's Thought Classic. Chicago: The University of Chicago Press.

Timbal, P.C. (1974). Histoire des Institutions Publiques et des faits sociaux. Paris: Dallaz.

Zoller, E. (2006). Introduction au droit public. Paris: Dalloz.