การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม 2) ศึกษามูลเหตุที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และ 3) นำเสนอแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามเนื้อหา สรุปตามวัตถุประสงค์และนำข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในพื้นที่อำเภอเชียงคำ มีสภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ลดลง เนื่องจากในปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ หลายภาคส่วนเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาจึงบูรณาการความร่วมมือเพื่อจัดโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเป็นการช่วยเหลือ และส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์ม้งในพื้นที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) มูลเหตุที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เกิดจากมูลเหตุ 8 ด้าน ได้แก่ รายได้ การถือครองทรัพย์สิน การเข้าถึงบริการทางสังคม และโครงสร้างพื้นฐานการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยอำนาจรัฐ การแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน การมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิต เพศ และการแสดงความคิดเห็น และ 3) แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในพื้นที่อำเภอเชียงคำ ควรสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในพื้นที่ สร้างโอกาสในการมีที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรที่และมีความชัดเจนในเรื่องสิทธิในที่ดินเพื่ออยู่อาศัยทำกิน ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพที่สอดคล้องกับขีดความสามารถและศักยภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
คันธรส แสนวงศ์ และคณะ. (2555). การพัฒนา และแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาชุมชนคลองบางซื่อ-รัชดาภิเษก. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ ประยุกต์, 5(1), 46-53.
พระเขมทัต สีลสาโร (รื่นสำราญ). (2560). การวิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยภาษา และวัฒนธรรมเอเชีย. (2556). โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลกระบวนการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคมภายใต้โครงการบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ. การลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงความยุติธรรมในสังคมไทยโดยยุติธรรมชุมชน. ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562 (น.1458-1474). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักกิจการชาติพันธุ์. (2557). แผนแม่บทพัฒนาชาติพันธุ์ในประเทศไทย (พ.ศ.2558-2560). (อัดสำเนา)
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
เอมอร แสนภูวา. (2563). การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาความมั่นคงชุมชนตามแนวชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. (รายงานวิจัยชุมชน). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.