แนวทางประยุกต์การปฏิบัติตนในสถานการณ์วิกฤตโควิดตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระสันต์ทัศน์ คมฺภีรปญฺโญ (สินสมบัติ)
ศิริโรจน์ นามเสนา
สามารถ สุขุประการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์วิกฤตในทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาแนวคิดหลักปฏิบัติตนในสถานการณ์วิกฤตโควิด และ 3) เสนอแนวทางประยุกต์หลักปฏิบัติตนในสถานการณ์วิกฤตโควิดตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวรรณกรรมทางที่เกี่ยวข้อง นำเสนอในเชิงพรรณนาผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์วิกฤตในทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องราวที่แสดงถึงความวิกฤติในหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสมัยพุทธกาล ตามที่ปรากฏในพระสูตรต่าง ๆ โดยเมื่อศึกษาจะทราบถึงประเด็นที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแนวทางการจัดการที่ควรค่าแบบอย่างในการปฏิบัติตนต่อวิกฤติโควิดได้ 2) แนวคิดหลักปฏิบัติตนในสถานการณ์วิกฤตโควิด คือ หลักคิดที่อยู่ภายใต้สถานการณ์วิกฤตโควิด โดยเน้นในเรื่องดูแลปฏิบัติตนเองเพื่อตอบสองด้วยตัวบุคคลเองทั้งวุฒิภาวะ การเรียนรู้ การกระทำไปสู่ผลตามแนวคิดของโอเร็มและหลักการปฏิบัติตน คือ พัฒนาตนตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา และ 3) แนวทางประยุกต์หลักปฏิบัติตนในสถานการณ์วิกฤตโควิดตามแนวพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย การประเมินและตัดสินใจ การนำไปสู่การกระทำและประเมินผล โดยบูรณาการเข้ากับหลักธรรมที่สอดคล้องต่อการพัฒนาตน คือ หลักภาวนา 4 ได้แก่ (1) ทางกายภาวนา ควรให้ความสำคัญกับกาย โดยอบรมกายให้รู้จักการป้องกันเห็นถึงสิ่งที่ควรทำพื้นฐานที่ร่างกายสัมผัสภายนอกทุกครั้งและป้องกันโดยสวมใส่อุปกรณ์ลดการสัมผัสในการดำเนินชีวิต (2) ทางสีลภาวนา ควรพิจารณาความสำคัญด้านพฤติกรรมตามหลักศาสนาเป็นการรักษาไม่ให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อโควิด (3) ทางจิตภาวนา ควรอบรมจิตรักษาอารมณ์ให้คงที่ไม่วิตกโดยวิธีการเช่น สวดมนต์ เจริญสติ เป็นต้น และ (4) ทางปัญญาภาวนา ควรประเมินภาววิกฤตที่เผชิญอยู่ รับรู้อย่างเท่าทันและทำความเข้าใจ ด้วยปัญญารับรู้ เข้าใจ ยอมรับความเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวได้ด้วยสติปัญญาของตน

Article Details

How to Cite
พระสันต์ทัศน์ คมฺภีรปญฺโญ (สินสมบัติ), นามเสนา ศ. ., & สุขุประการ ส. . (2023). แนวทางประยุกต์การปฏิบัติตนในสถานการณ์วิกฤตโควิดตามแนวพระพุทธศาสนา . วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 29–40. https://doi.org/10.14456/jra.2023.28
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2545). คู่มือกิจกรรมเสริมสร้าง ความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-11ปี. นนทบุรี: โรงพิมพ์ ร.ส.พ.นนทบุรี.

กริชชัย ธรรมสอน และพระครูวรวรรณวิฑูรย์. (2565). พระพุทธศาสนากับวิชาชีพข้าราชการพลเรือน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 11(2), 56.

กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำทางเดินหายใจ พ.ศ.2564. เข้าถึงได้จาก https://covid19.dms.go.th.

นิตยาภรณ์ สุระสายและคณะ. (2563). รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2395.

พระครูสมุห์วรวิทย์ ผาสุโก. (2562). ทุกข์และการดับทุกข์ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4166.

พระครูโสภณปริยัตยานุกิจ (อาทิตย์) และคณะ. (2564). ทักษะการใช้ชีวิตในสถานการณ์โควิด-19 ตามหลักพุทธจิตวิทยา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 407.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2564). โควิทกถา. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชิง จำกัด.

พิสันต์ สุขพูล. (2564). การบรรเทาภัยพิบัติด้วยรัตนสูตร. วารสาร Journal of Modern Learning Development, 6(5). 329.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณนภา วามานนท์. (2561). กระบวนการนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 19(พิเศษ), 199.

วรรณา มุ่งทวีเกียรติและคณะ. (2564). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 320-321.

ศิริลักษณ์ วรไวย. (2564). ศึกษาการส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยด้วยหลักไตรลักษณ์. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 3(2), 25.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2536). การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: วีเจพริ้นติ้ง.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2562). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

สมภาร พรมทา. (2548). พุทธปรัชญา: มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.