การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดศรีสุก (แย้มเยื้อนอุปถัมภ์) เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดศรีสุก (แย้มเยื้อนอุปถัมภ์) เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 43 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง ผู้วิจัยได้กำหนดแบบแผนการวิจัยเป็นแบบ Pre Experimental Design เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test โดยใช้แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเหมาะสมของชุดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก = 79, S.D. = 0.12 ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าเท่ากับ 0.94 หาค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.74 และ 2) ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีประสิทธิภาพ 84.53/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย =19.51 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย = 25.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียน =2.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังเรียน = 2.83 ซึ่งคะแนนหลังการใช้ชุดการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนก่อนใช้คิดเป็นร้อยละ 83.33 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ณ ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ : ธรรมะอินเทรน์.
พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฺฒโน (คำหงษา). (2560). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 127 ตอนที่ 45 ก, หน้า 1.
ภูวดี บุญศรี. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสังคมศึกษา เรื่องกฎหมายแพ่งและอาญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มินตรา กระเป๋าทอง. (2561). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2557-2558). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงได้จาก https://www.niets.or.th/th/