องค์ประกอบของขอบข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

ชาคริต จองไว
พรเทพ เสถียรนพเก้า
เอกลักษณ์ เพียสา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของขอบข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม ซึ่งมีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของขอบข่ายความร่วมมือทางวิชาการ จำนวน 10 แหล่ง 2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และ 3) ยืนยันองค์ประกอบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในขั้นตอนการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และขั้นตอนการยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของขอบข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรและการนำไปใช้ 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผลและประเมินผลการศึกษา 4) การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา และ 5) การนิเทศการศึกษา

Article Details

How to Cite
จองไว ช. ., เสถียรนพเก้า พ. ., & เพียสา เ. . (2023). องค์ประกอบของขอบข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม . วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 183–198. https://doi.org/10.14456/jra.2023.38
บท
บทความวิจัย

References

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

จิรภัทร มหาวงค์และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 114-127.

จิระศักดิ์ สร้อยคำ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2547). การนิเทศการสอนแบบใหม่. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์.

ญาดา เขื่อนใจ. (2554). การพัฒนาสื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนรายวิชา 5672501 การวิเคราะห์และการออกแบบเชิงวัตถุ. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(1), 9-16.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2545). คู่มือการพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิญ์และคณะ. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์, 27(3), 18-32.

มณีรัตน์ อภิวัฒนวรรณ. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

วรรณดี นาคสุขปาน. (2557). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยกับโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มประชาคมอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2550). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

สุคนธา ดิษฐสุนนท์. (2558). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา. การบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพรรณ์ ก้อนคำ (2558). มองกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาหลักสูตรจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, 3(1), 16-23.

สุภาวดี ลาภเจริญ. (2563). รูปแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 สู่ยุค Thailand 4.0. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 671-688.

สุรเดช รอดจินดาและคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคเหนือตอนบน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(1), 1020-1042.

ไสว อุทุมประเสริฐและคณะ. (2557). การดำเนินงานเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(2), 235-246.

Kimbrough, R. B. and Nannery, M.Y. (1998). Management. (7th ed.) np.: Houghton Mifilin.