กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 2) กำหนดกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานเขต สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 เขต รวม 24 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า 1.1) ด้านกระบวนการสรรหาและคัดเลือก พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินการสรรหาและคัดเลือกไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติทำให้บุคลากรของสำนักงานเขตอยู่ในสภาวะขาดแคลน 1.2) ด้านกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น 1.3) ด้านกระบวนการให้รางวัลและผลตอบแทน พบว่า มีการปรับเปลี่ยนการให้รางวัลและผลตอบแทนเป็นเงินช่วยเหลือในลักษณะค่าเสี่ยงภัยจากการปฏิบัติงาน รวมถึงผลประโยชน์อื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน 1.4) ด้านกระบวนการฝึกอบรมและพัฒนา พบว่า มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ฝึกอบรมและพัฒนาเป็นแบบ Online เน้นมาตรการป้องกันของกระทรวงสาธารณะสุขอย่างเคร่งครัด 2) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบด้วย 4 ด้าน 18 กลยุทธ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402-422.
กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2564). หน่วยงานกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก https://webportal.bangkok.go.th/
จอมรุจจิโรจน์ เหตุเกษ. (2564). กลยุทธ์ในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิรประภา อัครบวร. (2558). เปรียบเทียบแนวโน้มงานทรัพยากรมนุษย์ในประเทศอาเซียนปี พ.ศ. 2557-2558. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 6(2), 4-41.
ชิดชนก ผู้รุ่งเรือง. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานทำบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ทิพวรรณ จันทมาส. (2562). อิทธิพลของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความรู้สึกของพนักงาน:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th.
นฤมล หอมเนียม. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนวัดทับกระดาน. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นาเดีย อับดุลเร๊าะมัน และคณะ. (2564). ความพึงพอใจการบริหารงานกองคลังในสถานการณ์โควิด 19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (น.22-38). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ปฏิญญา ปิ่นทอง. (2561). อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อความตั้งใจคงอยู่ของพนักงานวิศวกรกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. สุทธิปริทัศน์, 32(103), 174-188.
พระครูสุนทรวัชรกิจ. (2558). กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพงษ์ชัย ชยวโส (พุทธวชิรกุล). (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมพ์ชนก ไชยรัตน์. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรแห่งนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัทราวดี ปรีจำรัส. (2564). ผลกระทบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์). คณะการบัญชีและการจัดการ: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภิญญดา ปีติวรรณ. (2564). แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายนานาชาติหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ และคณะ. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2564). องค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 286-298.
ศิริพงศ์ สมพีรพันธุ์. (2560). กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2564). ความปกติใหม่ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจหลังยุคโควิด-19. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 46-59.
สำนักทะเบียนกลาง. (2564). รายงานจำนวนราษฎรทุกจังหวัด. เข้าถึงได้จาก https://www.Bang kokbiznews.com/news/detail/925238.
สุภาพัฒน์ คำแข็งขวา. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของศาลอุทธรณ์ภาค 4. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อดุลยเดช ตันแก้ว และคณะ. (2560). การสรรหาบุคลากรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5 คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี “วิจัยเพื่อความก้าวหน้าและนวัตกรรมธุรกิจ” (น. 69-73). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
Harris, B.M. (1979). Personnel administration in education. Boston: Allyn and Bacon Higgins.
Thompson, A.A., Strickland, A.J. & Gamble, J.E. (2007). Crafting and Executing Strategy: The Quest for Competitive Advantage: Concepts and Cases. (15th edition). New York: McGraw-Hill Irwin Publisher.
United Nations Industrial Development Organization. (2020). Impact assessment of covid19 on Thai industrial sector. Retrieved from https://thailand.un.org/th/ 50830-karpraeminphlkrathbcakokhwid-19.