จิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวของพ่อแม่มือใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด หลักการ และสถานการณ์ความมั่นคงทางครอบครัวของพ่อแม่มือใหม่ 2) ศึกษาจิตวิทยาเชิงพุทธ ระบบและกลไกในการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อแม่มือใหม่ และ 3) บูรณาการจิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวของพ่อแม่มือใหม่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากเอกสารและวิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุปข้อมูลที่ได้จากภาคสนาม ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดหลักการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวของพ่อแม่มือใหม่ คือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์และการปลูกฝังการดำเนินชีวิตที่ดีในครอบครัว ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ในส่วนของสถานการณ์ความมั่นคงทางครอบครัวของพ่อแม่มือใหม่ พบว่า มีปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาความยากจน การใช้ความรุนแรง การแพร่ระบาดของยาเสพติด การหย่าร้าง เป็นต้น 2) จิตวิทยาเชิงพุทธระบบและกลไกการเสริมสร้างความมั่นคงครอบครัวของพ่อแม่มือใหม่ พบว่า กลุ่มพ่อแม่มือใหม่ต้องสร้างระบบและกลไกในการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัว ได้แก่ ผัวหาบ เมียคอน ผัวเป็นช้างเท้าหน้า เมียเป็นช้างเท้าหลัง ขยันหา รักษาดี หนักเอาเบาสู้ 3) การบูรณาการหลักจิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวของพ่อแม่มือใหม่ 3 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงการครองคู่ถูกยึดหลักปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า หนักนิดเบาหน่อยให้อภัยกัน ด้านความมั่นคงการใช้ชีวิตประจำวันยึดหลักอย่าหมิ่นเงินน้อย นอนคอยวาสนา ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง และความมั่นคงการอบรมเลี้ยงดูบุตรยึดหลักเรียนผูกก็ต้องเรียนแก้ รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์. (2519). ความสัมพันธ์ในครอบครัว. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.
บรรยวัลถ์ ฝากคำและนฤมล ดวงแสง. (2550). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัวและชุมชนตามนโยบายการป้องกันปัญหาสารเสพติดของจังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานการวิจัย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บุญยงค์ เกศเทศ. (2532). สถานภาพสตรีไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2550). จิตวิทยาครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรสจำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.
พระวิทูล สนฺตจิตฺโต (โพธิเศษ). (2556). การวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาการครองเรือนในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการปัญญา ปญญาทีโป (คาระโก). (2556). การศึกษาการพึ่งตนเองตามหลักเศรษฐกิจเชิงพุทธของกลุ่มเกษตรกรชาวบ้านหนองบัวแปะ ตำบลสร้างแซง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.