ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ทัศพร ชูศักดิ์
นัชชา ยันติ
ศศิธร ตันติเอกรัตน์
นาตยา ดวงประทุม

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 2) เปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 16 คน และผู้ดูแลหลัก จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดปทุมธานี มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยมีทีมทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุและผู้พิการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) ของแต่ละหมู่บ้าน โดยจัดทำแผนการเยี่ยมที่กำหนดวันเวลา และจำนวนบุคลากรในการเยี่ยมที่แน่นอน 2) การเปรียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และระดับที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองของผู้สูงอายุติดเตียง และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลัก ก่อนและหลังได้รับการดูแลสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
ชูศักดิ์ ท., ยันติ น. ., ตันติเอกรัตน์ ศ. ., & ดวงประทุม น. . (2023). ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 87–102. https://doi.org/10.14456/jra.2023.32
บท
บทความวิจัย

References

กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์และคณะ. (2562). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(1), 65-78.

จุฑาทิพย์ งอยจันทร์ศรี. (2555). การพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธัญพร สมันตรัฐ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงแบบ “3ต”. วารสารพยาบาลมหาวิทยาลัยสยาม, 9(36), 35-48.

รุจา ภู่ไพบูรย์. (2541). การพยาบาลครอบครัว: แนวคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี เจ พริ้นติ้ง.

วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์และคณะ. (2557). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. วารสารสภาการพยาบาล, 29(3), 104-115.

วิไล ตาประสีและคณะ. (2560). รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังตะกู จังหวัดนครปฐม. วารสารเกื้อการุณย์, 24(1), 42-54.

ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณิศร เต็งรัง. (2556). ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2556). การสังเคราะห์วรรณกรรม มาตรฐานการดูแลระยะยาวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยระบบการดูแลผู้สูงอายุไทย. (2558). การพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่. (รายงานการวิจัย). มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. (2557). ทิศทางนโยบายด้านการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 57-69.

อรวรรณ ศรีเกิน, มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง และพรรณิภา ไชยรัตน์. (2562) การพัฒนาแนวทางอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 1(2), 39-54.

Gibson, C. H. (1991). A Concept Analysis of Empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16, 354-361.

Watson, J. (2000). Reconsidering caring in the home. Journal of Geriatric Nursing, 21(6), 330-331.