ศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบลหนองไผ่แบน อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

จันทร์จิรา พูลจันทร์
สยาม ดำปรีดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบลหนองไผ่แบน อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .948 กับกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane จำนวน 299 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป/คน นำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า การมีส่วนร่วมแบบธรรมดาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า การมีส่วนร่วมแบบไม่ธรรมดา (เข้มข้น) โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) แนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า 3.1) การมีส่วนร่วมแบบธรรมดาควรมีการเปิดสำนักงานในเขตพื้นที่เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอข้อมูลทางการเมืองได้โดยง่ายและรวดเร็ว มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว และเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ให้บริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงกิริยาอาการสุภาพเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 3.2) การมีส่วนร่วมแบบไม่ธรรมดา (เข้มข้น) ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยหาวิธีการแก้ไขปัญหาและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสันติ โดยชุมชนสร้างข้อตกลงหรือกติกาในการจัดการทรัพยากร เศรษฐกิจ สังคม ร่วมกันทุกฝ่าย ข้อตกลงอาจเป็นลายลักษณ์อักษร หรือกฎจารีตประเพณี สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ สร้างความเข้าใจอันดี สร้างความสามัคคีปรองดองเพื่อลดปัญหาความรุนแรงในชุมชน

Article Details

How to Cite
พูลจันทร์ จ. ., & ดำปรีดา ส. . (2023). ศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบลหนองไผ่แบน อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 269–282. https://doi.org/10.14456/jra.2023.43
บท
บทความวิจัย

References

ที่ว่าการอำเภอเมืองอุทัยธานี. (2563). ทะเบียนประชากร. (อัดสำเนา)

นิยม เวชกามา. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ชาวสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ. (2560). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เยาวลักษณ์ จักรคํา. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2551). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. นนทบุรี: สำนักฝึกอบรม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า.

สถาบันพระปกเกล้า. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่แบน. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). (อัดสำเนา)

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. Tokyo: Haper International.