แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ธีรพจน์ แนบเนียน
สายทิตย์ ยะฟู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยรั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 43 คน และอาจารย์ จำนวน 254 คน รวมทั้งสิ้น 297 คน โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ คุณภาพของเครื่องมือมีค่าความตรงเท่ากับ 0.80-1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล รองลงมา คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และด้านที่มีระดับต่ำสุด คือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการรู้ดิจิทัล คือ ผู้บริหารต้องพัฒนาความรู้และทักษะในการนำเทคโนโลยีมาวางแผนการพัฒนาองค์กรและการบริหารงาน 2) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล คือ ผู้บริหารต้องสามารถกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล 3) ด้านการสื่อสารดิจิทัล คือ ผู้บริหารต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารด้วยรูปแบบวิธีการที่หลากหลายเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิชาการ 4) ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล คือ ผู้บริหารต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานและบรรยากาศขององค์กรให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแพร่หลาย 5) ด้านการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล คือ ผู้บริหารส่งเสริมบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน

Article Details

How to Cite
แนบเนียน ธ., & ยะฟู ส. . (2023). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง . วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 73–86. https://doi.org/10.14456/jra.2023.31
บท
บทความวิจัย

References

จิณณวิตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชีวิน อ่อนลออและสุชาติ บางวิเศษ. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 10(1), 108-119.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล. ขอนแก่น: ศูนย์สื่อการเรียนรู้มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร, 13(2), 286-294.

นเรศ ขันธะรี. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. อุบลราชธานี: หจก.วิทยาการพิมพ์.

สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2564). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579). เข้าถึงได้จาก http://plan.bru.ac.th

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิรักษ์ บุปผาชื่น. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม: การขับเคลื่อนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 205-216.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก http://www.trueplookpanya.com.

Mansour, M. A., Mazen, J. A., & Samy, S. A. (2020). Abu-Naser Strategic Leadership Practices and their Relationship to Improving the Quality of Educational Service in Palestinian Universities. International Journal of Business Marketing and Management (IJBMM), 5(3), 11-26.

Peng, B. (2021). Digital leadership: State governance in the era of digital technology. Cultures of Science. Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/ 209660832198 9835