การสร้างต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครื่องมือจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2) พัฒนาระบบและเครือข่ายพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) เสนอต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พิพิธภัณฑ์ในล้านนาจำนวน 316 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง คือ พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในล้านนา จำนวน 3 แห่ง ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1) สร้างเครื่องมือจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งได้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1) การศึกษาความต้องการระบบพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน 1.2) จัดทำแบบฟอร์มเก็บข้อมูล และ 1.3) สร้างเครื่องมือจัดการพิพิธภัณฑ์บนระบบจัดการเนื้อหา 2) การพัฒนาระบบและเครือข่ายพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งได้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1) ออกแบบเครือข่ายพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน 2.2) อบรมการใช้งานเครื่องมือจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน 2.3) ดำเนินการบันทึกข้อมูลลงสื่อมัลติมีเดีย และ 2.4) ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ และ 3) เสนอต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดทำระบบข้อมูลโบราณวัตถุทั้งหมด 90 ชิ้นจากทั้ง 3 วัดในล้านนา มาวัดละ 30 ชิ้น เพื่อนำมาจัดทำต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งได้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 3.1) คัดเลือกโบราณวัตถุเพื่อเสนอต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน 3.2) บันทึกข้อมูล และจัดทำคิวอาร์โค้ดโบราณวัตถุ 3.3) เสนอเว็บแอปพลิเคชันต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน และ 3.4) เสนอแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ และได้เสนอต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนสู่สังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2559). การศึกษากระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 8(1), 32-59.
ณฤณีย์ ศรีสุข, พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร (สายโรจน์), และบุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2565). การสร้างต้นแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 13(1), 140-159.
เด่นเดือน เลิศทยากุล. (2561). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริง : กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอพื้นเมืองโบราณลาวซี ลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 52-62.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2548). สะท้อนภูมิปัญญาพื้นบ้านผ่านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/travel/detail/9480000102926.
พรพิมล ประพฤติดี. (2561). การนำเสนอเทคโนโลยีเสมือนจริงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(3), 1104-1118.
พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี และศศิวิมล แรงสิงห์. (2562). บทบาทและความสำคัญของวัดมิ่งเมืองมูล: ในบริบทสังคมกระแสปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 151-164.
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2556). ไทย-ลานนา ล้านนา-ไทย : ประวัติศาสตร์ นิพนธ์ สถาปัตยกรรมล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 25-พ.ศ. 2549). หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 10, 26-59.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2565). ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/museum/.