บทบาทสตรีกับการปกครองท้องที่ตามหลักสังคหวัตถุธรรมในเขตอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

อารีย์ ชูเฉลิม
สยาม ดำปรีดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทสตรีกับการปกครองท้องที่ 2) ศึกษาบทบาทสตรีกับการปกครองท้องที่ตามหลักสังคหวัตถุธรรม และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาบทบาทสตรีกับการปกครองท้องที่ตามหลักสังคหวัตถุธรรมในเขตอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณโดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .920 กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอชุมตาบง สถิติที่ใช้ในวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทสตรีกับการปกครองท้องที่ พบว่า โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.48) เมื่อพิจารณาจากมากไปน้อย คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการบริหาร ด้านการเมือง และด้านสังคมวัฒนธรรม 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทสตรีกับการปกครองท้องที่ตามหลักสังคหวัตถุธรรม พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  = 3.51) เมื่อพิจารณาจากมากไปน้อย คือ สมานัตตตา อัตถจริยา ทาน และปิยวาจา และ 3) แนวทางในการพัฒนาบทบาทสตรีกับการปกครองท้องที่ตามหลักสังคหวัตถุธรรมในเขตอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า 3.1) ผู้นำที่เป็นสตรีควรมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ ช่วยเหลือแบ่งปัน ดูแลเอาใจใส่ลูกบ้านเป็นอย่างดี 3.2) ผู้นำที่เป็นสตรีควรพูดจาสุภาพ อ่อนหวานกับประชาชน คอยแนะนำและให้ความรู้ที่มีประโยชน์ในการทำงาน 3.3) ผู้นำที่เป็นสตรีควรช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชน ดูแลทุกข์สุขของประชาชน การดูแลเอาใจให้บริการแก่เพื่อนร่วมงานอย่างเต็มความสามารถ รวดเร็วและถูกต้อง 3.4) ผู้นำที่เป็นสตรีควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นกันเอง ไม่ถือตัวเข้ากับคนได้ทุกระดับ เสมอต้นเสมอปลาย เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม

Article Details

How to Cite
ชูเฉลิม อ. ., & ดำปรีดา ส. . (2023). บทบาทสตรีกับการปกครองท้องที่ตามหลักสังคหวัตถุธรรมในเขตอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ . วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 293–304. https://doi.org/10.14456/jra.2023.45
บท
บทความวิจัย

References

กุลธิดา สิงห์สี. (2555). นักการเมืองท้องถิ่นสตรี กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง). คณะรัฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ที่ว่าการอำเภอชุมตาบง. (2563). ทะเบียนประชากร. (อัดสำเนา)

เบ็ญจา สวัสดิโอ. (2557). ภาวะผู้นําของสตรีในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลลนา บุญชื่นและคณะ. (2558). การส่งเสริมความเข้มแข็งในองค์กรสตรีชุมชน เพื่อส่งเสริมบทบาทสตรีในการพัฒนาชุมชนชนบท. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการวิจัยการศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ.

วิลาสินี สุวรรณ์. (2558). การส่งเสริมบทบาทสตรีในท้องถิ่นผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. Tokyo: Haper International.