การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุภายในเขตเทศบาลเมืองพิชัย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน 344 คน จากประชากร จำนวน 2,427 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .956 สถิติที่ใช้ในวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุภายในเขตเทศบาลเมืองพิชัย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.39) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพิชัย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปางโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกันเป็นคู่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (r=0.83) และ 3) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ในเขตเทศบาลเมืองพิชัย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า 1) การวางแผนในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุได้แก่การกำหนดแผนส่งเสริมสุขภาพร่างกาย, การกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ 2) ทำโครงการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่โครงการสร้างเสริมสุขภาพ, กิจกรรมทางศาสนา และประเพณี 3) การติดตามประเมินผลการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุได้แก่ การสำรวจข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ, การสังเกตพฤติกรรม 4) การยกระดับการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุได้แก่ การพัฒนาระบบการจัดการสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุ, การพัฒนาความรู้และทักษะที่เหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
ณัฐกุล ภูกลาง. (2561). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (รายงานการวิจัยบุคลากร R2R). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์พรินท์.
พระมหาเชาวฤทธิ์ นรินฺโท และคณะ. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 กรณีศึกษา: ผู้สูงอายุบ้านห้วยหอย ตำบลธาตุทองอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 58-59.
พระมหาสมคิด กมโล (มีสี). (2563). การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553. (2553, 7 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนที่ 56 ก, หน้า 5-8.
วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานประชากรสูงอายุ ปี2553, 2563 และ 2573. เข้าถึงได้จาก. www: http://social.nesdb.go.th/social/
สำนักงานเทศบาลเมืองพิชัย. (2561). สถิติประชากร. เข้าถึงได้จาก http://www.pichaicity.go.th /index.php /store.
อำพล ใจคิด. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ของเทศบาลนครระยองจังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.