คุณภาพการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาท่าตะโก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสังคหวัตถุธรรม

Main Article Content

จุลลดา พุทธรักษา
สมคิด พุ่มทุเรียน
พระราชรัตนเวที

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการ ตามหลักสังคหวัตถุธรรม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับคุณภาพการให้บริการ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาท่าตะโก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสังคหวัตถุธรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .849 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ไปใช้รับบริการ จำนวน 390 คน ซึ่งใช้วิธีการแทนค่าในสูตรของย่ามาเน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน และใช้เทคนิคการสร้างข้อสรุปประกอบบริบทเพื่อสรุปและนำเสนอข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาท่าตะโก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.90) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสมานัตตา การวางตัวสม่ำเสมอ (วางตนพอดี) (gif.latex?\bar{X}  = 3.96) รองลงมา คือ ด้ายอัตถจริยา การทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น (สงเคราะห์ประชาชน) (gif.latex?\bar{X}  = 3.95) ด้านปิยวาจา การพูดถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน (วจีไพเราะ) (gif.latex?\bar{X}  = 3.95) และด้านทานการให้ (โอบอ้อมอารี) (gif.latex?\bar{X}  = 3.88) ตามลำดับ 2) หลักสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับคุณภาพการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาท่าตะโก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.607) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาท่าตะโก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ทางธนาคารควรพัฒนาการให้บริการมี 3 กระบวนการ คือ 1) การให้บริการด้วยจิตบริการ 2) การให้บริการด้วยการรับฟังด้วยใจ 3) การให้บริการด้วยการสื่อความด้วยใจ

Article Details

How to Cite
พุทธรักษา จ., พุ่มทุเรียน ส., & พระราชรัตนเวที. (2023). คุณภาพการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาท่าตะโก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสังคหวัตถุธรรม. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 41–52. https://doi.org/10.14456/jra.2023.29
บท
บทความวิจัย

References

ชัยรัตน์ จันทนดิษฐ์, วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน, วรรณี ลือรัตนองค์ชัย และปราโมทย์ กลิ่นลำดวน. (2562). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎร์สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 (น. 200-208). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2564). รายงานกิจการประจำปี 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.baac.or.th/file-upload/000199-1-AW%20BAAC%2016%20 Jun%2020.pdf.

ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2560). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนครสวรรค์ ตามการรับรู้ของประชาชน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐแนวใหม่). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

มณีนุช ไพรดี. (2553). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท พรอพเพอร์ตี้ แคร์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย). (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม. (2563). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุพรรณี อินทร์แก้ว. (2547). การตลาดธุรกิจบริการเฉพาะอย่าง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.