อุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมกับงานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ ในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสัมมัปปธาน 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมกับงานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ในอำเภอชุมแสงตามหลักสัมมัปปธาน 4 ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 35 คน ซึ่งได้กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย การนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ การจัดทำองค์ความรู้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ จากผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการพัฒนาอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม กับงานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ชาวตลาดชุมแสงมีความเชื่อและศรัทธาทำให้การจัดงาน ยังคงความขลัง เกิดความสำเร็จและความยิ่งใหญ่ของงานตลอดมา จากหลายปัจจัย เช่น การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการจัดงาน ซึ่งมาจากต่างสถานะ ต่างอาชีพ ต่างคนต่างวัย รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ในตลาดชุมแสงมีการบูรณาการมีส่วนร่วมในการจัดงานทำให้งานเกิดความสำเร็จที่ดียิ่ง บางครั้งอาจทำให้วัฒนธรรมกระแสหลักถูกกระแสของวัฒนธรรมอื่นที่รุนแรงกว่าดูดกลืนไป จนกระทบถึงการดำรงอยู่ของประเพณีดั้งเดิม ควรมีการรณรงค์ส่งเสริมและสนับสนุน ช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม เพื่อดำรงความเป็นรากเหง้าของคนในท้องถิ่นในบริบทใหม่ให้ดำรงอยู่ต่อไป ในขณะเดียวกันต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในแต่ละปีอาจจะมีสิ่งแปลกใหม่เพิ่มเข้ามา แต่ต้องไม่ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์หายไปในขณะเดียวกันสิ่งแปลกใหม่ที่เข้ามาจะดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกิจกรรม การรับฟังความคิดของคนรุ่นใหม่เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงการจัดงานให้ดีขึ้น ควรเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อเป็นแนวทางส่งต่องานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ในอำเภอชุมแสงจากรุ่นสู่รุ่น การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องไปตามบริบทใหม่ของสังคมไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จรรยา เหลียวตระกูล, มนต์ ขอเจริญและอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. การสืบทอดอัตลักษณ์ชาวไทยเชื้อสายจีนที่สะท้อนผ่านประเพณีตรุษจีนปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ในรอบหนึ่งศตวรรษ. เข้าถึงได้จาก https://commarts.dpu.ac.th/journal /upload/issue/ XQIDMDHroq.
ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. (2559). รัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2559). ประวัติศาสตร์อนุรักษ์นิยมไทย. กรุงเทพฯ: มติชนสุดสัปดาห์.
ผู้ใช้เฟซบุ๊ก งานเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. (2563). ตำนานเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง บ๊นเถ่ากง-ม่า (本頭公媽) จังหวัดนครสวรรค์. เข้าถึงได้จาก https://web. facebook.com/chumsaengfestival/photos/383391215139759?_rdc=1&_rdr.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์ พริ้นติ้งแมส โปรดักส์.
พิศาล มุกดารัศมี. (2561). การวิเคราะห์การเมืองแนวทางอุดมการณ์ทางการเมือง ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิเคราะห์การเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.