การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ของวัดและชุมชนจังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระครูสิริธรรมบัณฑิต
บุษกร วัฒนบุตร
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์
ณฤณีย์ ศรีสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2) ออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ และ 4) สร้างเครือข่ายทางการตลาดผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ของวัดและชุมชนจังหวัดลำปาง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคคลผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งในจังหวัดลำปางจำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชน และเลือกสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 24 รูป/คน ที่ใช้การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มเฉพาะ การวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า 1) ส่งผลให้ได้องค์ความรู้จากกระบวนการพัฒนาที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน เกื้อหนุนให้คนในชุมชนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เกิดการกระจายโอกาสการเรียนรู้ สร้างแหล่งเรียนรู้ที่ก่อประโยชน์ต่อชุมชน ให้ได้พัฒนาศักยภาพตามวิถีชีวิตและความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา 2) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำให้ได้องค์ความรู้จากทุนทางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เช่น กระต่ายขูดมะพร้าว หรือ กระเดื่องควาย แล้วนำเสนอผ่านนิทรรศการเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง ที่ยังต้องอาศัยการขับเคลื่อนเชิงบูรณาการกับกลุ่มเครือข่ายอื่น 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ทำให้ได้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และได้ผลิตภัณฑ์ อาทิ พวงกุญแจ กระเดื่องควาย ธง กรอบรูปพระพุทธรูป 4) ได้สร้างเครือข่ายทางการตลาดระหว่างพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยกัน และที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนให้มีสมรรถนะสูงขึ้นที่เกิดจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการ ส่งผลหนุนเสริมต่อการพัฒนาประเทศอย่างสร้างสรรค์

Article Details

How to Cite
พระครูสิริธรรมบัณฑิต, วัฒนบุตร บ. ., ศรีปรัชยานนท์ ส. ., & ศรีสุข ณ. . (2023). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ของวัดและชุมชนจังหวัดลำปาง. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 1–14. https://doi.org/10.14456/jra.2023.26
บท
บทความวิจัย

References

ฐาปกรณ์ ทองคำนุช, เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ และอรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล. (2564). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยด้วยแนวคิดพิพิธภัณฑ์จุดหมายปลายทาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 38-52.

เด่นเดือน เลิศทยากุล. (2561). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริง: กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอพื้นเมืองโบราณลาวซี ลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 52-62.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และ ภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืดแม่สมศรี ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 206-230.

พัณณิตา มิตรภักดี. (2561). Creative economy in action. นิตยสาร “คิด” Creative Thailand, 9(12), 14-15.

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 994-1013.

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และนุชนาฏ ไข่หลุ่ม. (2560). กลยุทธ์การตลาดเพื่อความสำเร็จของกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1969-1983.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2565). ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/museum/