ศึกษาวิเคราะห์การเจริญพระพุทธมนต์สิบสองตำนานในสังคมไทย

Main Article Content

เจ้าอธิการอุดมศักดิ์ อุตตมสกฺโก
ศิริโรจน์ นามเสนา
พระศรีสมโพธิ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเจริญพระพุทธมนต์ในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในบทพระพุทธมนต์สิบสองตำนาน และ 3) วิเคราะห์การเจริญพระพุทธมนต์สิบสองตำนานในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูล และสรุปผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา พบว่า 1) การเจริญพระพุทธมนต์ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ การสาธยาย คือ การท่อง การสวด หรือการทบทวนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และคำร้อยกรองที่แต่งขึ้นมาภายหลังที่นับถือว่าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ สามารถปัดป้องอันตรายต่าง ๆ ได้ เริ่มขึ้นที่เมืองเวสาลีตั้งแต่สมัยพุทธกาลเพื่อเป็นการขจัดภัย 3 ประการ คือ ข้าวยากหมากแพง (ทุพภิกขภัย), ภูตผีปีศาจทำอันตราย (อมนุสภัย), โรคภัยไข้เจ็บ (โรคภัย) 2) หลักธรรมที่ปรากฏในพระพุทธมนต์สิบสองตำนาน ได้แก่ ความมีเมตตา ความมีสัจจะ ความเคารพอ่อนน้อม การตรึกพิจารณาธรรม การประพฤติธรรม และการให้อภัย รวมถึงบุญกิริยาวัตถุและไตรสิกขา และ 3) การเจริญพระพุทธมนต์สิบสองตำนานในสังคมไทย มีความมุ่งหมายสำคัญ สรุปได้ 2 ประการ คือ (1) การเจริญพระพุทธมนต์เพื่อรักษาพระศาสนา (2) การเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความคุ้มครองป้องกันภัย ในปัจจุบันมีการประยุกต์การเจริญพระพุทธมนต์เพื่อบำบัดรักษา มี 3 รูปแบบ คือ (1) สวดด้วยตนเอง บำบัดจิตตนเอง (2) ฟังผู้อื่นสวด แล้วบำบัดจิตตนเอง และ (3) สวดและบำบัดให้ผู้อื่น ดังนั้น การเจริญพระพุทธมนต์แบบประเพณีจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพิธีกรรม หาใช่เนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาไม่ ความมุ่งหมายที่แท้จริงอยู่ที่การทราบความหมายของบทเจริญพระพุทธมนต์ในแต่ละบทแล้วนำมาปฏิบัติ ให้เกิดมรรคผลนิพพานทั้งแก่ผู้สวดและผู้ฟังอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
เจ้าอธิการอุดมศักดิ์ อุตฺตมสกฺโก, นามเสนา ศ. ., & พระศรีสมโพธิ. (2023). ศึกษาวิเคราะห์การเจริญพระพุทธมนต์สิบสองตำนานในสังคมไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 15–28. https://doi.org/10.14456/jra.2023.126
บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). พระสุตันตปิฎก. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เทพพร มังธานี. (2556). วัฒนธรรมการเจริญพระพุทธมนต์และพระปริตรในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด.

ธนิต อยู่โพธิ์.(2548). อานุภาพพระปริตต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.

พระพรหมบัณฑิต. (2542). อานุภาพพระปริตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.