การศึกษาองค์ความรู้และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ของวัดและชุมชนจังหวัดลำปาง

Main Article Content

บุษกร วัฒนบุตร
ตระกูล จิตวัฒนากร
วิโรชน์ หมื่นเทพ
เกียรติ บุญยโพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง 2) ศึกษากระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง และ 3) สร้างระบบและกลไกของกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 22 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 18 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) พิพิธภัณฑ์ของวัดปงสนุกเหนือ วัดไหล่หินหลวง และวัดบ้านหลุก เกิดขึ้นจากการพัฒนาชุมชนให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ที่จัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลในชุมชนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยกระจายโอกาสการเรียนรู้สู่ชุมชน ทำให้สมาชิกในชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพของตนเองตามวิถีชีวิตที่สามารถจับต้องได้ 2) กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเครือข่าย ประกอบด้วย วิเคราะห์แหล่งที่มาของความรู้ สังเคราะห์เนื้อหาความรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการเผยแพร่ความรู้ และ การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ และ 3) สร้างขั้นตอนร่วมกับวัดและชุมชนเพื่อจัดทำแผนชุมชนในการสร้างระบบและกลไก พัฒนากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ค้นหาแกนนำท้องถิ่น สร้างทีมงานทำแผนชุมชน ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน เพื่อให้สมาชิกได้เห็นถึงอัตลักษณ์ตัวตนที่แท้จริงของตนเองและชุมชน โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น ที่หนีบกระดาษ หรือพวงกุญแจในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
วัฒนบุตร บ., จิตวัฒนากร ต. ., หมื่นเทพ ว. ., & บุญยโพ เ. . (2023). การศึกษาองค์ความรู้และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ของวัดและชุมชนจังหวัดลำปาง. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 267–276. https://doi.org/10.14456/jra.2023.20
บท
บทความวิจัย

References

กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. (2565). บ้านหลุก แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์-สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม. เข้าถึงได้จาก https://culturalenvi.onep.go. th/site/detail /986

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). การส่งเสริมการพัฒนา ระบบเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

ทรงศักดิ์ แก้วมูล. (2549). การดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูล และสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.

ปนัดดา มนูรัษฎา, รัฐไท พรเจริญ และภาคภูมิ บุญธรรมช่วย. (2555). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อจําหน่ายในร้านค้าพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (มิวเซียมสยาม). วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(2), 55-68.

ปราโมทย์ เหลาลาภะ และ กาญจนา เส็งผล. (2555). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(1), 36-49.

วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564). การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(3), 320-332.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2565). พิพิธภัณฑ์วัดปงสนุก ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/776

สถาพร แสงสุโพธิ์, ขจรเกียรติ ศรีนวลสม, อินสม สารินจา, อัครเดช วรหาญ, และ นพวรรณ บุญธรรม. (2565). การพัฒนาระบบและกลไกการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของชุมชน: กรณีการจัดการผลผลิตจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์สู่อาหารกลางวันโรงเรียน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(3), 82-102.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.