การศึกษาภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของบุคลากรในสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบุคลากรในสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลตามตัวแปรตำแหน่งงานและประสบการณ์ของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ประชากรในการศึกษา คือ สถานศึกษา จำนวน 127 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา จำนวน 97 แห่ง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 97 คน และครูผู้สอน จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลของบุคลากรในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะการสร้างความตระหนัก ( = 4.41) รองลงมา คือ ด้านทักษะการระดมทรัพยากร ( = 4.37) และด้านทักษะเชิงปฏิบัติการ ( = 4.36) ตามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านภาวะผู้นำเชิงโครงสร้าง ( = 4.31) และ 2) ภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล ตามตัวแปรตำแหน่งงาน พบว่า ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการเปรียบเทียบตัวแปรประสบการณ์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12. เข้าถึงได้จาก https://www.egov.go.th/th/government- agency/54/
จักรพันธ์ พันธ์หินกอง และชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5), 128-144.
ชนินทร์ ศรีส่อง และชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2564). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตศึกษา, 18(80), 55-67.
ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 6(4), 137-149.
ไชยา ภาวะบุตร และคณะ. (2563). พัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 1-11.
ญาณี ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต 1. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7(1), 148-155.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธัญณิชา สุขวงค์. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(34), 32-42.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2562). การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 33(106), 1-16.
พิมพ์วิมล วงษ์ขันธ์, อุดมพันธ์ พิชญ์ประเสริฐ, พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่งและพิมล วิเศษสังข์. (2564). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 16(2), 43-55.
มณีรัตน์ สุดเต้, หยกแก้ว กมลวรเดช, มานี แสงหิรัญ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 344-362.
วรรณมณี โพธิพันไม้. (2561). การศึกษาการบริหารสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 5(2), 30-37.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.
วิศวะ ผลกอง. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สมพร ทองสวย. (2560). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. (การค้นคว้าอิสระ. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2565. (ฉบับปรับปรุง). สุโขทัย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สินีนาฏ จิระพรพาณิชย์. (2562). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัล ตามความคิดเห็นของครู ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุทธิรัตน์ แช่มช้อย, โสภณ เพ็ชรพวง และสถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารงานโรงเรียนกับประสิทธิผลของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(1), 166-177.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). คุณลักษณะยุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก http://www.trueplookpanya .com//knowledge.
Fullan, M. (2005). Leadership & sustainability: System thinkers in action. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Horth, D. & Buchner, D. (2009). Innovation Leadership; How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results. Retrieved from http:// www.ccl.org/leadership/pdf/research/innovationleadership.pdf.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Sheninger, E. (2014). Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times. California: California: United States of America.