ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

Main Article Content

พงศ์กร จันทราช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 277 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 129 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบข้อคำถามให้เลือกตอบและเติมคำตอบ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยต้องการแบบแผนการศึกษาที่มีการทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา และจัดการศึกษาในช่วงเวลานอกเวลาราชการ วันเสาร์-อาทิตย์ จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนและมีการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ควบคู่กัน ในด้านวิธีการคัดเลือกนักศึกษาควรใช้วิธีสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินพื้นฐานความรู้ สำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาควรให้ชำระแบบเหมาจ่ายตลอดหลักสูตร โดยสามารถแบ่งจ่ายเป็นภาคการศึกษา นอกจากนี้ยังมีความต้องการให้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานทั้งภายในและต่างประเทศ และต้องการให้มหาวิทยาลัยสนับสนุนทุนสำหรับการทำวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ พร้อมทั้งจัดเตรียมห้องทำงานและคอมพิวเตอร์ตลอดระยะเวลาศึกษา ส่วนเหตุผลของการศึกษาต่อเพราะต้องการเพิ่มเติมความรู้เฉพาะด้านเพื่อนำไปพัฒนาวิชาชีพของตนเองในอนาคต เพิ่มวุฒิการศึกษา สร้างเครือข่ายทางวิชาชีพ และได้แนวทางในการประกอบอาชีพ ดังนั้นมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ควรพัฒนาหลักสูตรปริญญาโททางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและสอดรับกับฐานวิถีชีวิตใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
จันทราช พ. . (2023). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น . วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 121–136. https://doi.org/10.14456/jra.2023.34
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ และพยงค์ เทพอักษร. (2564). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 11(2), 45-59.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จริยาภรณ์ โตเผือก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(2), 56-63.

ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ (2563). ความต้องการและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรีสองปริญญา ปริญญาตรีต่อโท และปริญญาโท ของนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(1), 36-49.

ปรีดี ทุมเมฆ, อรทัย เลียงจินดาถาวร และสิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ. (2565). ความต้องการศึกษาต่อและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(1), 191-200.

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. (2542). มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น มหาวิทยาลัยแห่งเส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ (Gateway to Entrepreneurship). เข้าถึงได้จาก https://feu.ac.th/history.aspx

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1), 1-15.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth). กรุงเทพ: กลุ่มประชาสัมพันธ์และบริการห้องสมุด สำนักบริหารกลาง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf

สำนักบริหารวิชาการและทะเบียน. (2565). รายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. เข้าถึงได้จาก https://reg.feu.ac.th

สิริมา สิตะรุโน, วรวุฒิ เจนจิรโชติ, รังสิมาฐ์ เรืองวัฒนาไชย, รวิสราท์ แก้วศรี, เบญจมาภรณ์ วรรณทิวา และกนกกาญจน์ ไชยกาล. (2562). การสำรวจความต้องการ แรงจูงใจ และอุปสรรคต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาและเภสัชศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(2), 542-550.

สุภาพร คชารัตน์. (2565). การศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในสาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 209-225.

อาทิตยา อักษรศรี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(1), 60-66.