แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

ปัญญาวุฒิ ศรีสม
พิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น และ 2) แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครู จำนวน 141 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ในการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำดิจิทัลของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับของความต้องการจำเป็น และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 3 ท่าน จากนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำดิจิทัลของครูในลำดับถัดไป ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในลำดับมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ 1.1) ด้านความสามารถและเชี่ยวชาญของผู้นำดิจิทัล 1.2) ด้านการมีวิสัยทัศน์ของผู้นำดิจิทัล 1.3) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้นำดิจิทัล 1.4) ด้านสภาพแวดล้อมของผู้นำดิจิทัลในองค์กร และ 1.5) ด้านการสื่อสารของผู้นำดิจิทัล และ 2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำดิจิทัลของครู ด้านที่ 1 ความสามารถและเชี่ยวชาญของผู้นำดิจิทัล ประกอบด้วย 5 แนวทางการพัฒนา ด้านที่ 2 การมีวิสัยทัศน์ของผู้นำดิจิทัล ประกอบด้วย 4 แนวทางการพัฒนา ด้านที่ 3 การมีส่วนร่วมของผู้นำดิจิทัล ประกอบด้วย 3 แนวทางการพัฒนา ด้านที่ 4 ด้านสภาพแวดล้อมของผู้นำดิจิทัลในองค์กร ประกอบด้วย 6 แนวทางการพัฒนา และด้านที่ 5 ด้านการสื่อสารของผู้นำดิจิทัล ประกอบด้วย 5 แนวทางการพัฒนา

Article Details

How to Cite
ศรีสม ป. ., & ลิมปพัทธ์ พ. . (2023). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 93–108. https://doi.org/10.14456/jra.2023.57
บท
บทความวิจัย

References

จิณณวิตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จิรพล สังข์โพธิ์และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรยุคดิจิทัล กรณีศึกษา: องค์กรไอทีและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

เจริญ ภูวิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ชูชาติ พุทธลา. (2561). องค์ประกอบภาวะผู้นำทางดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ต้องตา จำเริญใจ. (2561). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ทินกร บัวชูและทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร, 13(2), 285-294.

นัยนา อักษรมัต และกาญจนา โภคิน. (2563). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสำหรับการสอนออนไลน์ในช่วงวิกฤตการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปาณัสม์ ชุมภูยาละ. (2563). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พงศ์รัตน์ ธรรมชาติและชวลิต เกิดทิพย์. (2564). ทบทวนบทเรียน ONSITE สู่ ONLINE กับการพัฒนาครูที่ไร้ทิศทางในยุควิกฤต COVID-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 18-39.

พัชรินทร์ ไชยบุบผา. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในยุคนิวนอร์มัล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่งรัตน์ พลชัย. (2563). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยา เขตอีสาน, 1(3), 53-62.

วีซานา อับดุลเลาะ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 227-246.

ศศิวิมล ม่วงกล่ำ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิษฏ์ชนา ดวงบาล, พระครูวิทิตศาสนาทร, และฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์. (2562). แนวทางการพัฒนาครูด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนโรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(1), 242-253.

สนธยา หลักทองและเผชิญ กิจระการ. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2563). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 234-248.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุชญา โกมลวานิช. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

Eberl, J. K., & Drews, P. (2021). Digital Leadership-Mountain or Molehill? A Literature Review. Germany: Leuphana University Lüneburg, Institute of Information Systems, Lüneburg.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Randstad. (2018). Randstad US survey identifies 5 critical leadership traits executives need to thrive in the post-digital workplace. Retrieved form https://www.prnewswire.com/news-releases/randstad-us-survey-identifies-5-critical-leadership-traits-executives-need-to-thrive-in-the-post-digital-workplace-300717742.html

Sheninger, E. (2014). Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times. United States of America : Corwin.