Now Normal to Next Normal ของพระสงฆ์ในการปฏิบัติศาสนกิจ

Main Article Content

พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา Now Normal to Next Normal ของพระสงฆ์ในการปฏิบัติศาสนกิจ พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม จนนำไปสู่การดำรงชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่ ปัจจุบันผู้คนในสังคมปรับตัวและคุ้นชินกับการอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 ประกอบกับรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการป้องกัน อีกทั้งมีการประกาศยกเลิกมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา และสถานการณ์ตอนนี้เรียกว่า Now Normal ผู้คนในสังคมปรับตัวให้อยู่กับโรคโควิด-19 ได้อย่างไม่มีปัญหา และการดำเนินชีวิตในอนาคตซึ่งเป็นการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ของคนทุกช่วงวัย ที่เรียกว่า Next Normal หรือ ชีวิตวิถีถัดไป ผู้คนในสังคมปรับตัวเพื่อความอยู่อดจนเกิดความคุ้นชินทั้งวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร และวิธีปฏิบัติ พระสงฆ์ก็เช่นกันเป็นผู้ที่ต้องพบปะพุทธศาสนิกชนโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องมีการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติศาสนกิจไปตามสถานการณ์ เน้นการดำเนินชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้นมีเพลตฟอร์มบริการดิจิทัลในฐานะที่พระสงฆ์เป็นผู้เผยแผ่ธรรมะให้แก่พุทธศาสนิกชนต้องปรับเปลี่ยนให้อยู่ในโลกออนไลน์เช่นกัน เช่น การสอนธรรมะผ่าน Youtube, Live Stream ผ่าน Facebook, โปรแกรม Zoom เป็นต้น และหลักธรรมที่สามารถเป็นเครื่องส่งเสริมในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นของพุทธศาสนิกชนในชีวิตวิถีใหม่และชีวิตวิถีถัดไปที่ยังใช้ได้ทุกช่วงเวลา คือ ศีล 5 และธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ คือ สติ และสัมปชัญญะ และการปฏิบัติศาสนกิจบนโลกออนไลน์สิ่งที่พระสงฆ์ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดทางสถานภาพ และภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ด้วย เนื่องจากการใช้เครื่องมือเหล่านี้มีทั้งส่วนที่สร้างสรรค์และส่วนที่ทำลาย หากพระสงฆ์ไม่คำนึงถึงพระธรรมวินัยก็อาจถูกตั้งข้อสังเกตจากพุทธศาสนิกชนว่าไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเสื่อมศรัทธา

Article Details

How to Cite
พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฺฒโน. (2023). Now Normal to Next Normal ของพระสงฆ์ในการปฏิบัติศาสนกิจ. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 325–340. https://doi.org/10.14456/jra.2023.72
บท
บทความวิชาการ

References

ธานี วรภัทร์. (2560). หลักธรรมกับผู้กระทำผิด. (รายงานการวิจัย). สำนักพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา: กระทรวงยุติธรรม.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.

พระมหาจำนง สิริวณฺโณ. (2564). แนวทางการจัดการบทบาทพระสงฆ์ในการปรับตัวกับสถานการณ์โควิด-19. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 395-405.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ และคณะ. (2563). การปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนในยุค New Normal. นนทบุรี: หจก.นิติธรรมการพิมพ์

พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธีและศศิวิมล แรงสิงห์. (2562). บทบาทและความสำคัญของวัดมิ่งเมืองมูล: ในบริบทสังคมกระแสปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 151-164.

พินิจ ลาภธนานนท์ และแทนพันธุ์ เสนะพันธุ์บัวใหม่. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมของพระสงฆ์. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สยามรัฐออนไลน์. (2564). เสพข่าว “โควิด-19” อย่างมีสติ. เข้าถึงได้จาก https:// siamrath.co.ac.th/n/142579

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. เข้าถึงได้จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-Normal-next-Normal.