การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุค นิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

Main Article Content

อรรถกานท์ ทองแดงเจือ
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี และ 2) ยืนยันองค์ประกอบที่เหมาะสมของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี 462 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลคำนวณหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ กลยุทธ์ การพัฒนาครูและบุคลากร ภาวะผู้นำ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และเทคโนโลยีดิจิทัล และ 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบที่เหมาะสมของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี พบว่า โมเดลองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-Squara = 46.722 ค่า p = 0.185 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้อง (GFI) = 0.989 ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.949 และค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเฉลี่ย (RMSEA) = 0.021

Article Details

How to Cite
ทองแดงเจือ อ. ., & เพชรสมบัติ พ. . (2023). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุค นิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 43–58. https://doi.org/10.14456/jra.2023.102
บท
บทความวิจัย

References

ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2558). รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการสั่งเคราะห์ข้อมูลโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พระมหาศิริชัย สิรินฺทาโณ (ศรีรัมย์). (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 The New Normal in Educational Administration After The Covid-19Crisis. เข้าถึงได้จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/243660/16587

รวีวรรณ วงค์เดชานันทร์. (2564). การพัฒนาและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 11(1), 25-35.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). รายงานประจำปี 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/241.

สมคิด บางโม. (2559). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : บริษัท วิทยพัฒน์ จํากัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนรวมการ บริหารจัดการศึกษา. กรงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). การศึกษายุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/social/general/628541

สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New Normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. เข้าถึงได้จาก https:// dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49.

อานุภาพ เลขะกุล (2564). ความปกติถัดไปอุดมศึกษา: ความท้าทาย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ 2564, 1(2), 111-125.

Baker, C. (1992). Attitudes and Language. Clevedon : Multilingual Matters.

Bawany, S. (2018). Leading in a disruptive VUCA world. New York : Business Expert Press.

David, Fred R. (1997). Strategic Management. (6th ed). New Jersey : Prentice-Hall.

Dess, G. G. & Miller, A. (1993). Strategic Management. Singapore : McGraw-Hill.

Hair J.F., et al. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). Pearson Prentice Hall : New Jersey.