ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

Main Article Content

ธวัชชัย สุนทรนนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 274 คน โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 176 คน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค 0.88 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.20 และมีเพศชายเพียง ร้อยละ 17.60 มีอายุเฉลี่ย 41.15 ปี สถานภาพส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน ร้อยละ 64.80 มีระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ยเท่ากับ 15.52 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 88.10 ปัจจัยนำด้านความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย 2.84 ด้านทัศนคติส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงมีค่าเฉลี่ย 2.97 ปัจจัยเอื้อในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.98 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสภาพ แวดล้อมภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.61 ด้านโครงการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.38 ปัจจัยเสริมในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.25 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพจากสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.30 ด้านการได้รับคำแนะนำสนับสนุนจากบุคคลต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.39 และระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.77 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยนำด้านความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ปัจจัยนำด้านทัศนคติ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม ไม่พบความสัมพันธ์ทางสถิติ (p-value = 0.883), (p-value = 0.068) และ (p-value = 0.990) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
สุนทรนนท์ ธ. . (2023). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 325–340. https://doi.org/10.14456/jra.2023.91
บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559) คู่มือแนะนำการกินอาหารของคนไทย. กรุงเทพฯ : กองโภชนาการ.

กรมอนามัย. (2563). กินตามวัยให้พอดี. เข้าถึงได้จาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th /temp/publication/ tong1.jpg

จิรวรรณ เจริญกุลวัฒนะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis. or.th/tdc// search_result.php

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2554). แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฐปนัท อินทรสาลี. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเทศบาลนครนนทบุรี. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th /tdc//search_result.php

ปาหนัน พิชยภิญโญ, ภัทรพร ชูประพันธ์ และวีณา เที่ยงธรรม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของแม่ในเขตภาคกลางตอนล่าง. เข้าถึงได้จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th /57/grc15/files/mmp73.pdf

พิชานัน ตอนแรม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของบุคลากรเรือนจำพิเศษธนบุรี. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc//search_result.php

รัชตา ดำมณี, จรัส อติวิทยาภรณ์และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของบุคลากรสาธารณสุข. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/Administration/ Downloads/24122-30872-1-PB%20(3).pdf

ศรายุทธ สิงห์ช่างชัย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกโรงพยาบาลวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. เข้าถึงได้จาก http://tdc. thailis.or.th/tdc//search_result.php

สใบทิพย์ เขียวอรุณ. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้มารับบริการ ณ ห้องตรวจอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc//search_result.php

สมคิด สมศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีชุมชนริมครองสามเสน กรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/ tdc//search_result.php

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. เข้าถึงได้จาก http://www.nesdb. go.th/default.aspx

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11. เข้าถึงได้จาก http://bps2.moph.go.th/download

สินธนา ศรีแพน. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มารับบริการศูนย์สุขภาพแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc//search_result.php

สุภาวดี พันธุมาศ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงวัยรุ่นครรภ์แรกจังหวัดอุบลราชธานี. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc//search

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey : Prentice Hall Inc.

Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of Education Objective Handbook I, Cognitive Domain. New York : David Mckay.

Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. New York : John Wiley & Sons.

Green, L.W. (1991). Health Education Planning: A Diagnostic Approach. California : Mayfied.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. (5th ed). New Jersey : Pearson Education, Inc.