การประยุกต์หลักราชวสดีธรรมสำหรับงานราชการ

Main Article Content

พระฐิติ กิตฺติปญฺโญ (จำนงค์สุข)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาราชวสดีธรรมในวิธุรชาดก 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราชวสดีธรรมกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ 3) ประยุกต์หลักราชวสดีธรรมสำหรับงานข้าราชการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา งานวิจัยและเอกสารต่าง ๆ วิเคราะห์ บรรยายโดยการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ราชวสดีธรรม เป็นหลักปฏิบัติราชการ 49 ประการ หากผู้ปฏิบัติราชการไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าเป็นผู้ที่บกพร่องในหน้าที่ของตน การมีจรรยาบรรณต่อตนเอง การมีจรรยาบรรณต่อหน่วยงาน การมีจรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา และการมีจรรยาบรรณต่อผู้อื่นและสังคม เป็นหลักที่ผู้ปฏิบัติราชการพึงปฏิบัติงานด้วยความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด ถูกระเบียบ อดทน สุภาพอ่อนน้อม และรักในหน้าที่การงานของตน 2) หลักราชวสดีธรรมมีความสัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ อิทธิบาท 4 จักรวรรดิธรรม พรหมวิหาร อคติ สัปปุริสธรรม ราชสังคหธรรม อปริหานิยธรรม โดยมีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติงานราชการ เพื่อให้มีความสงบสุขสำหรับปัจเจกชนและสังคมโดยส่วนรวม และ 3) การประยุกต์หลักราชวสดีธรรมสำหรับงานข้าราชการ ใช้ในการควบคุมตนเอง ในการปฏิบัติต่อผู้อื่น และการทำงาน ใช้ในการยับยั้งอารมณ์ พฤติกรรม และความปรารถนาตามธรรมชาติของบุคคล ในการตอบสนองต่อเป้าหมายระยะสั้นที่มีความดึงดูดใจ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในระยะยาว และเป็นการกระทำตามกฎหรือบรรทัดฐานของสังคม เพื่อการปฏิบัติต่อผู้อื่น โดยการมีความเอื้อเฟื้อแต่ไม่หวังสิ่งตอบแทน อีกทั้งยังต้องเปิดใจรับฟังผู้อื่นด้วยความอยากเข้าใจผู้อื่นจริง ๆ จะช่วยให้ความสัมพันธ์ยั่งยืน การพูดความจริงทำให้ผู้อื่นมีพื้นที่ในการพูดความจริงและการกระทำจากความจริงใจ และประยุกต์ใช้ในการทำงานโดยในการทำงานต้องมีความรอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร นอกจากนั้น จะต้องศึกษาและพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ

Article Details

How to Cite
พระฐิติ กิตฺติปญฺโญ (จำนงค์สุข). (2023). การประยุกต์หลักราชวสดีธรรมสำหรับงานราชการ. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 17–28. https://doi.org/10.14456/jra.2023.75
บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิชาญ สัดซำ. (2559). การบริหารแบบระบบราชการกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงาน อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.

สายวรุณ น้อยนิมิต. (2552). อรรถกถาชาดก: การศึกษาในฐานะวรรณคดีคำสอนของไทย และความสัมพันธ์กับวรรณคดีคำสอนเรื่องอื่น. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระวันเพ็ญ กนโก. (2556). วิเคราะห์หลักสัจจะที่ปรากฏในวิธุรบัณฑิตชาดก. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวัลลภ บุญล้อม. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบ วรรณกรรมชาดกเรื่องวิธุรบัณฑิตฉบับพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ กับฉบับภาคเหนือและภาคอีสาน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร. (2530). อ้างถึงใน สายวรุณ น้อยนิมิต อรรถกถาชาดก : การศึกษาในฐานะวรรณคดีคำสอนของไทย และความสัมพันธ์กับวรรณคดีคำสอนเรื่องอื่น. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒน์ เพ็งผลา. (2528). ประวัติวรรณคดีบาลี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.