การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเครือข่ายกลุ่มศรีอยุธยา ในพื้นที่ชุมชนคลองจิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ทั้งด้านมูลค่าและคุณค่าบนฐานอัตลักษณ์แต่ละท้องถิ่น 2) ยกระดับช่องทางการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายในชุมชน และ 3) เสริมสร้างศักยภาพชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และภาคีเครือข่ายเพื่อความยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน โดยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีขั้นตอนดังนี้ การประชุมระดมความคิดเห็น การวิเคราะห์ SWOT และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน ได้แก่ “ขนมบัวแดง” “ชาใบจิก” ผ่านการวิเคราะห์คุณค่าด้านโภชนาการผลิตภัณฑ์ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ “กัญชาน้ำผึ้งมะนาวพร้อมดื่ม” 2) ยกระดับช่องทางการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยวโดยชุมชน เพิ่ม 3 ช่องทาง คือ ช่องทางสื่อออนไลน์ ช่องทางคู่มือการท่องเที่ยว และช่องทางการจัดงาน Event ร่วมกับภาคีเครือข่าย และ 3) เสริมสร้างศักยภาพชุมชนต้นแบบโดยการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ จากการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน สรุปได้ 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ (1) การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (2) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน (3) การอำนวยความสะดวกของภาครัฐ (4) การสร้างรายได้ในชุมชน และ (5) การเป็นเจ้าบ้านที่ดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2563). ท่องเที่ยวชุมชน บนเส้นทางเรียนรู้. เข้าถึงได้จาก http://www. culture.go.th/culture_th/
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดในประเทศปี 2564. เข้าถึงได้จาก https://secretary.mots.go.th/policy/
กานต์มณี ไวยครุฑ. (2564). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรวัฒนธรรมไทย-มอญชุมชนบ้านงิ้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 13(2), 135-146.
กุลวดี ละม้ายจีนและคณะ. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองชุมชนซะชอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 76-86.
ฐิติมา อังกุรวัชรพันธุ์และกิ่งกนก เสาวภาวงศ์. (2561). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยวบนฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 10(20), 29-42.
ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง และคณะ. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(2), 52-83.
สรรเพชร เพียรจัด และคณะ. (2564).รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นข้าวเม่า แบบบูรณาการอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจร. บุรีรัมย์, 6(1), 105-199.
สุภาพรณ์ ประสงค์ทัน. (2564). ทุนทางสังคมกับแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาชาวไทยพวน อ.ปากพลี จ.นครนายก. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), 1-11.