วัฒนธรรมทางการเมืองไทยกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2563

Main Article Content

สยาม ดำปรีดา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2563 โดยการศึกษาจากเอกสาร ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง และใช้แนวคิด ทฤษฎีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยมาวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นแบบแผนพฤติกรรมของคนในสังคมในลักษณะของความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ขนบประเพณีที่มีต่อระบบการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นผลจากการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองซึ่งจะนำไปสู่การแสดงออกทางการเมือง จากการศึกษาพบว่า การแสดงออกของประชาชนในพื้นที่ยังคงมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีค่านิยมหรือความเชื่อทางการเมืองยังยึดติดกับระบบอุปถัมภ์ และตัวบุคคล พร้อมรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองไทยแบบเฉื่อยชา ยึดมั่นกับพวกพ้องหรือสถาบัน ชอบความเป็นอิสระ อันเป็นการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ แบบไพร่ฟ้าและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ซึ่งส่งผลต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2563 ค่อนข้างมาก ในขณะที่ประชาชนในชุมชนหรือท้องถิ่นที่มีการเลือกตั้งมีความรู้ความเข้าใจและการแสดงออกถึงวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงนั้นมีค่อนข้างน้อย ดังนั้น รัฐจึงควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมซึ่งจะทำให้ประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่พวกเขาสามารถควบคุม กำกับ และตรวจสอบผู้ปกครองให้ใช้อำนาจปกครองท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงได้

Article Details

How to Cite
ดำปรีดา ส. . (2024). วัฒนธรรมทางการเมืองไทยกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2563. วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 397–414. https://doi.org/10.14456/jra.2024.29
บท
บทความวิชาการ

References

กนลา สุขพานิช ขันธปราบ. (2560). แนวทางที่ใช้ในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา ระบบการเมืองเปรียบเทียบ หน่วยที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 22). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2550). พัฒนาการการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว. (2558, 5 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132. ตอน พิเศษ 1 ง, หน้า 48.

ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์. (2564). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย : รัฐธรรมนูญที่แท้จริงซึ่งไม่เคยถูกยกเลิก. เข้าถึงได้จาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1014

ณัฐกร วิทิตานนท์. (2563). การเลือกตั้ง อบจ.”63 บอกอะไรเรา. เข้าถึงได้จาก https://www.the101.world/after-the-provincial-election-63

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2543). การเมืองการบริหารไท ย: ภาระของชาติ. กรุงเทพฯ : โครงการเอกสารและตำราคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). วัฒนธรรมทางการเมืองไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 52-63

พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต และคณะ. (2563). วัฒนธรรมทางการเมืองไทยและบทบาทของทหารกับการเมือง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(1), 131-132.

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 136. ตอนที่ 50 ก, หน้า 130.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2539). การเมือง : แนวความคิดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). สาระน่ารู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ชุดที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและวัฒนธรรมทางการเมือง. เข้าถึงได้จาก http://www.chamrae.go.th/site/attachments/article/319/4.

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. (2563). เลือกตั้งท้องถิ่น : ปรากฏการณ์ใหม่-ข้อมูล-สถิติน่าสนใจในศึกเลือกตั้ง อบจ. 63. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-55186329

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. (2563). เลือกตั้งท้องถิ่น : ว่าที่นายก อบจ. 76 จังหวัด ใครอยู่ใต้เงา “บ้านใหญ่” ใครคือ หน้าใหม่ล้มแชมป์. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/ thailand-55394623

อิทธิศักดิ์ วรกิจ. (2563). ความสัมพันธ์และรูปแบบของระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น: กรณีศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(4), 159.

Almond, G. & Powell, B. Jr. (1966). Comparative Politics: A Development Approach. Boston : Little, Brown.

Almond, G. & Verba, S. (1963). The Civic Culture. Princeton, New Jersey: Princeton University Press.

Verba, S. (1965). Political Culture and Political Development. Princeton, New Jersey : Princeton University Press.