กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 4

Main Article Content

พระครูนิรุติวรโสภณ (วชิรเมธีวรฉัตร)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม 3)กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม และ 4) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากทุกด้าน ได้แก่ 1.1) การพัฒนาผู้เรียน 1.2) การบริหารจัดการชั้นเรียน 1.3) ภาวะผู้นำครู 1.4) การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน 1.5) การบริหารหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ 1.6) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม พบว่า การประชุมวางแผน เจ้าสำนักเรียน ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ กรรมการสถานศึกษา ครูสอน ผู้นำชุมชน ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม 3) กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม ประกอบด้วย 3.1) พัฒนาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล 3.2) สร้างองค์ความรู้ด้านสื่อนวัตกรรม 3.3) พัฒนาศักยภาพครู บุคลากรการศึกษาให้มีคุณธรรม มั่นคงในวิชาชีพ 3.4) พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ 4) การประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติ พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด มาตรการ มีความสอดคล้องในระดับมาก ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
พระครูนิรุติวรโสภณ (วชิรเมธีวรฉัตร). (2023). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 4. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 1–16. https://doi.org/10.14456/jra.2023.74
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กองพุทธศาสนศึกษา. (2564). ข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาประจำปี 2564 ครั้งที่ 1 สรุปรายเขต. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครสวรรค์. (อัดสำเนา)

กองศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2560). ประวัติความเป็นมาของการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://deb.onab.go.th/th/content /page/index/id/6647

ญาณกร ช้อยนิยม และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 65-78.

ดารุณี บุญครอง. (2560). วิเคราะห์แนวทางการจดัการศึกษาไทยกบัการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. สารอาศรมวัฒนธรริมวลัยลักษณ์, 17, 1-25.

พระมหายุทธนา ตุ้มอ่อน, รชฏ สุวรรณกูฏ และสุเทพ ทองประดิษฐ์. (2558). สมรรถนะประจำสายงานของครู ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3), 56-63.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราพร เกษสังข์ และคณะ. (2562). สมรรถนะและการประเมินความต้องการจาเป็นเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(1), 132-145.

รุ่งทิวา แย้มรุ่ง และคณะ. (2560). การวิเคราะห์สภาพปัญหา ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการผลิตครูของประเทศไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 255-270.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

สมัย กันหา. (2562). การพัฒนากลยุทธ์เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 107-114.

สุวิมล มธุรส, กิตติ รัตนราษี และอนันต์ อุปสอด. (2562). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(2), 266-278.

หวิน จำปานิน และพระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูเชิงพุทธบูรณาการของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3856-3870.

Morgan, B. (2016). The Process of Foreseeing: A Case Study of National Security Strategy Development. (Dissertation (Ed.D.). The George Washington University.