การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

วสุภัทร กุลเมือง
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการใช้งานข้อมูลสารสนเทศ และ 2) พัฒนาระบบสารสนเทศ และประเมินความความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยการศึกษาความต้องการ ได้แก่ ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 291 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมิน จำนวน 9 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจและแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ประกอบด้วย ด้านการนําเข้าข้อมูล ด้านกระบวนการทำงาน  ด้านการแสดงผลข้อมูล ทั้ง 9 ประเภท คือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานประกอบการเพื่อการฝึกปฏิบัติวิชาชีพของผู้เรียน ด้านครุภัณฑ์ ด้านวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านนักเรียน นักศึกษา ด้านอาคารสถานที่ และด้านเศรษฐกิจและสังคม 2) ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 ได้เป็นโปรแกรมเว็บไซต์ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 ผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์มีประโยชน์ ง่ายต่อการใช้ง่ายและประสิทธิภาพ ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจต่อระบบที่พัฒนาขึ้นนี้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.13, S.D.= 0.66) ด้านที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการแสดงผลข้อมูล (gif.latex?\bar{X} = 4.15, S.D.= 0.67) รองลงมา คือ ด้านการนําเข้าข้อมูล (gif.latex?\bar{X} = 4.13, S.D.= 0.68) ส่วนด้านที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านกระบวนการทำงาน (gif.latex?\bar{X} = 4.11, S.D.= 0.79)

Article Details

How to Cite
กุลเมือง ว. ., & เพชรสมบัติ พ. . (2023). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 47–58. https://doi.org/10.14456/jra.2023.77
บท
บทความวิจัย

References

ปรีชา เกรียงกรกฎ และนุชสรา เกรียงกรกฎ. (2560). การพัฒนาระบบรับส่งไฟล์งานบนอินเตอร์เน็ตสำหรับช่วยในการศึกษากรณีศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 11. (น. 96-105). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปิยนันท์ เสนะโห. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล. PBRU Science Journal, 19(1), 27-43.

“มาตรฐานการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชนสูง พ.ศ. 2559”. (2559, 14 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 258, หน้า 23-25.

วรกฤต แสนโภชน์. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาระบบฐานข้อมูล. พะเยา : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา.

อารีรัตน์ มีเย็น, เจษฎา แก้ววิทย์, คัดเค้า สันธนะสุข และประยง มหากิตติคุณ. (2561). การพัฒนาระบบการจัดการเอกสาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTTC Academic Day ครั้งที่ 2. (น. 1904-1918). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Johnson, D. W. & Johnson, R. (1994). Leading the cooperative school. (2nd ed.). Edina, MN : Interaction Boo.

Kolb, D. A. (1984). Experience learning. The encyclopedia of pedagogy and informal education. Retrieved from https://infed.org/mobi/david-a-kolb-on-experiential-learning/