แนวทางการจัดการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย

Main Article Content

พสชนัน นิรมิตรไชยนนท์
วรรณชลี โนริยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานของเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ 2) วิเคราะห์ความต้องการทางการเรียนรู้ และ 3) เสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกปัจจุบันและผู้สนใจเข้าร่วมเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ จำนวนทั้งสิ้น 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ประเทศไทยยังไม่มีเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ที่ถาวรและทำหน้าที่โดยเฉพาะ แต่มีองค์กร 3 ประเภทที่ดำเนินการด้านการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ ได้แก่ 1.1) องค์กรที่เกิดจากการรวมตัวเครือข่ายประชาสังคมในการรับเรื่องร้องเรียนสื่อที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 1.2) การทำงานร่วมกันของสภาวิชาชีพสื่อมวลชน และ 1.3) เครือข่ายที่ทำงานในลักษณะโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน 2) เครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์มีความต้องการเรียนรู้ด้านความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่สะท้อนประโยชน์สาธารณะ รูปแบบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลเนื้อหา ต้องการพัฒนาทักษะด้านการทำงานเป็นทีม การวางแผน การประสานงาน การสร้างเครือข่าย และต้องการให้พัฒนาด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา และการระดมสมอง และ 3) แนวทางการจัดการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย ควรให้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบสื่อ มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับเครือข่ายจิตอาสา การทำงานร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อและภาคีเครือข่ายรายประเด็นที่เกี่ยวข้อง การให้ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการรายงานสื่อที่ไม่เหมาะสมต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น ๆ   

Article Details

How to Cite
นิรมิตรไชยนนท์ พ. ., & โนริยา ว. . (2023). แนวทางการจัดการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายจิตอาสาในการตรวจสอบเนื้อหารายการทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 155–170. https://doi.org/10.14456/jra.2023.109
บท
บทความวิจัย

References

เกษม นครเขตต์. (2554). เอกสารวิชาการ แนวคิดและทฤษฎีเครือข่ายทางสังคม (Social Network Theory). กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.).

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา. (2556). การกำกับดูแลเนื้อหารายการที่อาจเป็นภัยในกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนภายใต้ภาวะสื่อหลอมรวม. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เชิญพร คงมา. (2551). บทบาทของภาคประชาสังคมในการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุษฎี ไชยชนะ. (2550). ความสำนึกของคน. กรุงเทพฯ : วี พรินท์.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2563-2568). (2563, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 189 ง, หน้า 22.

พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ และศศิธร ยุวโกศล. (2546). การกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิรงรอง รามสูต. (2556). วิทยุชุมชนในประเทศไทย จากการปฏิรูปสื่อสู่การกำกับดูแลที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ศศิกานต์ กาละ และคณะ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 16-29.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สุนิสา ทรงอยู่. (2560). ผลของโปรแกรมพัฒนาแรงจูงใจอาสาและจิตอาสาตามแนวคิดทฤษฎีการรู้คิดทางสังคมและการเรียนรู้จากการให้บริการสังคมที่มีต่อพฤติกรรมอาสาของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25),153-163.

อรพินทร์ ชูชม และคณะ. (2549). การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับจิตสำนึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรวี ศรีชำนาญ. (2558). การกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าวในโทรทัศน์ภาคพื้นดินที่ออกอากาศในระบบดิจิทัล ในช่วงหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิพล วรานุศุภากุล. (2560). การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.