การพัฒนาคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน 2) ออกแบบและสร้างคู่มือ 3) ประเมินคุณภาพคู่มือ และ 4) นิเทศติดตามผลการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา 2) สร้างและออกแบบคู่มือฯ 3) ประเมินตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือฯ ด้วยการทดลองใช้ และ 4) เก็บรวบรวมข้อมูลทดลองภาคสนามและประเมินผลนิเทศติดตามการใช้คู่มือ ผลการวิจัย พบว่า 1) ควรกำหนดหลักการส่งเสริมด้านคุณธรรมและจริยธรรมต้านทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีกระบวนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ควรมีแนวปฏิบัติในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา ควรมีแผนการจัด การเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา 2) คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา พัฒนาขึ้นตามความต้องการผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยมีเป้าหมายให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การป้องกันการทุจริตและสร้างวัฒนธรรม ต่อต้านการทุจริตให้แก่ผู้เรียน และผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความพร้อมในการกำกับติดตาม การใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 3) คุณภาพคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา ด้านรูปเล่มอยู่ในระดับมาก ด้านเนื้อหาและด้านประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการนิเทศติดตามผลการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อการใช้คู่มือฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ขณะที่ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศติดตามการใช้คู่มือฯ อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา จํานงศักดิ์. (2551). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาไตรสิกขา โรงเรียนวัดสี่แยกราษฎรบํารุง. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559-2564). เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/acc/ contents/ files/other-20180719-160433-889866.pdf
เพลินตา พรหมบัวศร. (2560). รูปแบบการศึกษาบูรณาการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพการโค้ชการสะท้อนคิดและการใช้พลังคําถามวิทยาลัยพยาบาลสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 60-72.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Crowther, J. (1996). Oxford Advanced Learner’ Dictionary. (5thed.). NY : Oxford University.
Harris, B. M. (1985). Supervisory behavior in education. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall. Press.
Robbins, S P., & Coulter, M. (2010). Management. (11thed.). New Jersey : Prentice-Hall Press.
Strickland, A. W. (2006). ADDIE. Idaho State University College of Education Science, Math & Technology Education. Retrieved from http/www.ed.isu. edu/addie/index.htm.