การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปราณี แก้วมา
สำราญ มีแจ้ง
สุรีย์พร สว่างเมฆ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ 75/75 และ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านดงลาน จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และแบบทดสอบวัดสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test แบบกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น มีประสิทธิภาพ 83.02/78.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ และ 2) ผลการทดสอบวัดสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มเป้าหมายหลังจากที่ได้เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ พบว่า มีสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น ร้อยละ 78.86 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
แก้วมา ป. ., มีแจ้ง ส. ., & สว่างเมฆ ส. . (2023). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 257–272. https://doi.org/10.14456/jra.2023.87
บท
บทความวิจัย

References

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). ผลการประเมิน PISA 2009. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โครงการ PISA 2009. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2009. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

จันทร์ ติยะวงศ์. (2549). รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเนื้อหาและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงหทัย กาศวิบูลย์. (2550). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ในงานวิจัยทางการศึกษา. วารสารการวิจัยทางการศึกษา, 3(1),14-22.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญนํา อินทนนท์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบํารุงที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิจิตร อุตตะโปน. (2550). ชุดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2545). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยการประยุกต์แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลักในการเรียนรู้เพื่อเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่2). นครสวรรค์ : หจก.ริมปิงการพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11) กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วาสนา กิ่มเทิ้ง. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนีย์ คล้ายนิล, ปรีชาญ เดชศรี และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2550). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โครงการ PISA 2006. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อมรรัตน์ แปงเกี้ยว. (2554). การศึกษาประสิทธิผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.