กลยุทธ์การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน 2) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนา และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี ที่เข้ารับการฝึกอบรมมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 1 เดือน จำนวน 87 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และประเด็นในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ SWOT และการวิเคราะห์ TOWS Matrix ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกตามองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางสังคมภาพ รองลงมา คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางจิตภาพ ส่วนสภาพปัจจุบันของความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ 2) กลยุทธ์การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก 8 กลยุทธ์รอง และ 27 วิธีดำเนินการ 3) กลยุทธ์การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2560). การขอเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย. เข้าถึงได้จาก http://www.djop.go.th/storage/files/1/page-djop1.pdf
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2565). รายงานสถิติคดี ประจำปี พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.djop.go.th/storage/files/2/statistics2564.pdf
กรมสุขภาพจิต. (2558). คู่มือการจัดกิจกรรม “ฝึกคิดแก้ปัญหา พัฒนา EQ” สำหรับอาสาสมัคร / แกนนำศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ฉบับปรับปรุง ปี 2558. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ดุลยา จิตตะยโศธร. (2555). จิตอาสา: แนวทางหนึ่งในการพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเอง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 32(1), 155.
ทรรศนีย์ วราห์คำ. (2554). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัทรา เจริญสิทธิ์, ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล, และ อายุตม์ สินธพพันธุ์. (2561). วุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 11.
พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา และอาภาพร เผ่าวัฒนา. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 212.
เพชรรัตน์ กาบคำ. (2560, 28 พฤศจิกายน). ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี. (นางสาวธนนันท์พร พัฒนผลสุขุม, ผู้สัมภาษณ์).
รัฐสภา พงษ์ภิญโญ. (2556). การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในวิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์ภิญโญ:การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี. เข้าถึงได้จาก https://www.tsn.ac.th/web/wp-content/uploads/2021/02/ 28258/แผนพัฒนา-ปี-63-66-PDF.pdf
ศันสนีย์ กิจแก้ว. (2550). พฤติกรรมการเผชิญความเครียดของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 2 จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การเสริมสร้าง “ทักษะชีวิต” ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวภัทร แกล้วกล้า. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกุล) จังหวัดแพร่. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขา วิชาจิตวิทยาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์. (2545). สภาพแวดล้อมการเรียนรู้. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 25. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัจฉรา สุขารมณ์ และอังศินันท์ อินทรกำแหง. (2548). การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับอีคิวในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อารี มั่งคั่ง. (2556). ผลของกิจกรรมกลุ่มต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี : การศึกษาเบื้องต้น. วารสาร มฉก.วิชาการ, 16(32), 62.