กระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรตำบลภูน้ำหยด จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร 2) ศึกษากิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร และ 3) ประเมินผลกระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร ตำบลภูน้ำหยด จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอรายงานแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรสามารถส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้สูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง สอดคล้องกับทรัพยากรของพื้นที่นั้นเป็นหลัก มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอกอาศัยความรอบรู้ 2) กิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร การดำรงชีวิตจำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรม ประกอบด้วยความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มทักษะ ความรู้ เทคนิค วิธีการต่าง ๆ นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมถึงการลด ละ เลิก ใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม และ 3) ประเมินผลกระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร ตำบลภูน้ำหยด จังหวัดเพชรบูรณ์ เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตมีความเข้าใจการทำเกษตรผสมผสานกระบวนการอบรมพึ่งพาตนเองได้ สามารถวางแผนการทำเกษตรปลอดภัยในครัวเรือนได้ เกษตรกรได้บริโภคอาหารปลอดภัย ลดรายจ่ายแลกเปลี่ยนอาหารภายในชุมชน เกิดการแบ่งปันการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเศรษฐกิจ ด้านต้นทุนการผลิต ด้านสุขภาพ สร้างและขยายเครือข่ายขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2553). พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี. (2546). การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). คณะพัฒนาสังคม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุมาลี จันทร์ชลอ. (2551). การศึกษาความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ตำบลภูน้ำหยด. เข้าถึงได้จาก http:// service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList / S010107/th/45.htm
เอกชัย พุมดวง. (2557). กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมตามแนวเศรษฐกิจชุมชนในตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต