ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิก ซินโดรม

Main Article Content

เจษฎา เจริญสิริพิศาล
เบญจมาศ สุขสถิตย์
จินดารัตน์ ชัยอาจ
ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม 2) ศึกษาการจัดการตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงฆ์ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจำนวน 110 ราย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความเจ็บป่วย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบประเมินการจัดการตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือก่อนนำไปใช้งาน โดยมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า 1) พระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรมมีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 45.22 คะแนน (SD = 6.85) 2) พระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรมมีการจัดการตนเองอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 149.44 คะแนน (SD = 15.29) และ 3) ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในระดับปานกลาง (rs = .67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านกระบวนการที่เหมาะสมกับสมณสารูปของพระสงฆ์จึงมีความจำเป็น เพื่อสนับสนุนให้สามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
เจริญสิริพิศาล เ. ., สุขสถิตย์ เ. ., ชัยอาจ จ. ., & โฆษชุณหนันท์ ณ. . (2023). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของพระสงฆ์ที่มีภาวะเมแทบอลิก ซินโดรม. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 171–190. https://doi.org/10.14456/jra.2023.110
บท
บทความวิจัย

References

กรศศิ ชัยเดช. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกียรติศักดิ์ สุขเหลืองและคณะ. (2561). การพัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่าน. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณิศฉัตร์ วุฒิศักดิ์สกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), 71-83.

จงจิตร อังคทะวานิช และคณะ. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาวิถีชีวิต ลักษณะอาหาร ภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ สามเณร และฆราวาส: ในบริบท 4 ภูมิภาคประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ช่อระกาการพิมพ์.

จงจิตร อังคทะวานิช และคณะ. (2559). สถานการณ์ปัญหาโภชนาการในพระสงฆ์จากโครงการ “สงฆ์ไทยไกลโรค”. กรุงเทพฯ : ปัญญมิตร การพิมพ์.

ชัดศุภา ศิริรัชฏะ. (2564). ความชุกของภาวะอ้วนลงพุงในพระสงฆ์ที่มารับบริการใน โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพมหานคร. เวรสารแพทย์ทหารบก, 74(2), 113-120.

พชฏ นรสิงห์, กฤติณัฎฐ์ นวพงษ์ปวีณ และปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์. (2561). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดภาวะ Metabolic Syndrome ของพระสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 25(2), 21-29.

พรรณิภา บุญเทียรและคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อดัชนีมวลกาย พฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรม และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรตำรวจ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 346-356.

พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ). (2551). การศึกษาวิเคราะห์วิถีชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี และคณะ. (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

พระอธิการเฉลิม กนฺตสาโร และศิริโรจน์ นามเสนา. (2565). พระคิลานุปัฏฐาก: บทบาทการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 275-284.

พีระพล หมีเอี่ยม และธนัช กนกเทศ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(3), 1-12.

เพชรัตน์ อ้นโตและคณะ. (2562). พฤติกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหารกับการปฏิบัติกิจวัตรตามวิถีชีวิตของพระสงฆ์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(2), 348-363.

รำไพพรรณ หน้อยบุญตัน, ศิริรัตน์ ปานอุทัยและณัฐยาน์ สุวรรณคฤหาสน์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(1), 213-224.

ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช และคณะ. (2561). ความแตกฉานทางสุขภาพของพระภิกษุสูงอายุในโรงพยาบาลสงฆ์. Veridian E-journal Silpakorn University, 11(1), 2643-2656.

วันทนา มณีศรีวงศ์กุล. (2555). การประเมินความต้องการการดูแลของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย มหิดล.

วิชัย เอกพลากร. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. นนทบุรี : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.). กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุทธินันท์ คอดริงตัน และคณะ. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 48(4), 268-280.

แสงเดือน กิ่งแก้วและนุสรา ประเสริฐศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43-54.

อัจฉริยา พงษ์นุ่มกุล และคณะ. (2554). พฤติกรรมการบริโภคของพระภิกษุสงฆ์ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(2), 37-45.

Alberti, K. G., et al. (2009). Harmonizing the Metabolic Syndrome: a joint interim statement of the international diabetes federation task force on epidemiology and prevention; national heart, lung, and blood institute; American heart association; world heart federation; international atherosclerosis society; and international association for the study of obesity. Circulation, 120(16), 1640-1645.

Bong, J., et al. (2019). Vegetarianism as a protective factor for asymptomatic colonic diverticulosis in Asians: a retrospective cross-sectional and case-control study. Intestinal Research, 18(1), 121-129.

Emiral, G. O., et al. (2021). Assessment of knowledge of Metabolic Syndrome and Health Literacy level among adults in Western Turkey. Nigerian Journal of Clinical Practice, 24(1), 28.

Froze, S. & Arif, M. T. (2019). Determinants of Health Literacy and healthy lifestyle against Metabolic Syndrome among major ethnic groups of Sarawak, Malaysia: a multi-group path Analysis. The Open Public Health Journal, 12(1), 172-183.

Gomes, M. B., et al. (2020). Health Literacy and glycemic control in patients with diabetes: a tertiary care center study in Brazil. Diabetology & Metabolic Syndrome, 12(1), 1-8.

Heijmans, M., et al. (2015). Functional, communicative, and critical Health Literacy of chronic disease patients and their importance for self-Management. Patient Education and Counseling, 98(1), 41-48.

Hemrungrojn, S. (2011). Montreal cognitive assessment (MOCA) Thai version. Retrieved from https://www.mocatest.org.

Ishikawa, H., et al. (2008). Measuring functional, communicative, and critical Health Literacy among diabetic patients. Diabetes care, 31(5), 874-879.

Jeamjitvibool, T., et al. (2019). Non-Communicable Disease in Buddhist Monks: An Integrative Review. Paper session presented at Sigma's 30th International Nursing Research Congress, Calgary, Alberta, Canada.

Lorig, K. R. & Holman, H. R. (2003). Self-Management education, history, definition, outcomes, and mechanism. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1-7.

Meigs, J. B. (2020). Metabolic Syndrome (insulin resistance Syndrome or Syndrome X). Retrieved from https://www.uptodate.com/contents/Metabolic-Syndrome-insulin-resistance-Syn drome-or-Syndrome-x#H3.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Polit, D. F. & Beck, C. T. (2008). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. (8th ed.). Philadelphia : Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.

Yokokawa, H., et al. (2016). Association between Health Literacy and Metabolic Syndrome or healthy lifestyle characteristics among community-dwelling Japanese people. Diabetology & Metabolic Syndrome, 8(1), 30.