คพฺภปาตน: ชีวิตเป็นของใคร สิทธิที่สตรีต้องตัดสินใจ

Main Article Content

พระมหาเจษฏ์ฌกฤษฎ์ ปญฺญาธโร
เสาร์คำ ใส่แก้ว
ประสาน เจริญศรี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “คพฺภปาตน” การยุติการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการท้องไม่พร้อม ไม่ว่าวัยไหน สถานะทางการเงินเช่นใด ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ โดยการถกเถียงอยู่ 2 แนวคิด คือ พระพุทธศาสนาที่มีจุดยืนแบบอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับชีวิตและการเกิด และหลักกฎหมายตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พุทธศักราช 2564 มาตรา 305 ที่ต่างก็มีจุดมุงหมายที่แตกต่างกัน โดยพระพุทธศาสนาไม่สนับสนุนการทำแท้ง ไม่ว่าเงื่อนไขจะเป็นอย่างไรก็ไม่ควรมีใครต้องถูกพรากชีวิตไป การตีตราว่า “คนบาป” จากการทำปาณาติบาต จึงเกิดขึ้นกับสตรีที่เลือกจะทำแท้ง ส่วนหลักกฎหมายให้ทางเลือกไว้ 2 ทาง คือ สตรีสามารถทำแท้งได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พุทธศักราช 2564 มาตรา 305 และหากไม่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พุทธศักราช 2559 ได้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วศาสนากับหลักกฎหมายอาจมีมุมมองที่ไม่ตรงกัน เมื่อสิทธิที่สตรีต้องเลือกไม่อาจถูกต้องตามหลักศีลธรรม ก็พึงให้ทางเลือกที่มีอยู่นั้น ตั้งอยู่บนความปลอยภัยและถูกกฎหมาย

Article Details

How to Cite
พระมหาเจษฏ์ฌกฤษฎ์ ปญฺญาธโร, ใส่แก้ว เ. ., & เจริญศรี ป. (2023). คพฺภปาตน: ชีวิตเป็นของใคร สิทธิที่สตรีต้องตัดสินใจ. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 423–438. https://doi.org/10.14456/jra.2023.97
บท
บทความวิชาการ

References

ชฎาภรณ์ วัฒนวิไล. (2558). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะฉุกเฉินในระยะตั้งครรภ์และคลอด. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2555). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.ที.เพรส.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). ทำแท้ง : ตัดสินอย่างไร? ชีวิตเริ่มต้นเมื่อไหร่ การทำแท้งในทัศนะของพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ : ผลิธัมม์.

พระพุทธโฆษาจารย์, (2508). สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยแปล ภาค 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์.

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พุทธศักราช 2559. (31 มีนาคม 2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 30 ก. หน้า 1-11.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พุทธศักราช 2564. (6 กุมภาพันธ์ 2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 10 ก. หน้า 1-3.

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชําระใหม่ พุทธศักราช 2535. (8 เมษายน 2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 169 ตอน 42. หน้า 1-306.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พุทธศักราช 2499. (15 พฤศจิกายน 2499). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอน 95 (พิเศษ). หน้า 1-114.

พระสุรินทร์ อินฺทวํโส. (2555). การทำแท้งในสังคมไทย: ปัญหาและทางออก ตามทัศนะของพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สวนมะไฟและอุทัย สติมั่น. (2560). การทำแท้ง: วิกฤติของพุทธจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(3), 155-168.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 11, 12, 15. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์. (2551). แพทย์ยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ให้กับหญิงภายใต้เงื่อนไขที่แพทยสภากำหนด: กฎเกณฑ์ทันยุคที่แพทย์ไทยทุกคนต้องรู้. วารสารเวชบันทึกศิริราช, 1(2) , 114-123.