การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชองค์การบริหารส่วนตำบลคำโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วิรยา วิฑูธีรศานต์
ณัจฉรียา คำยัง
จรินทร์ ย่นพันธ์
รุ่งกานต์ อินทวงศ์
ธนัญชัย บุญหนัก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้สารเคมีในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคำโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี 2) ตรวจคัดกรองความเสี่ยงระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรในชุมชน และ 3) พัฒนาศักยภาพของชุมชนในการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเป็นงานวิจัยแบบผสม แบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน คือ การสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้สารเคมีในพื้นที่ การตรวจคัดกรองระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร และการพัฒนาศักยภาพแกนนำโดยการวิเคราะห์ SWOT และอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวประเด็นในการสนทนากลุ่มเฉพาะ แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และชุดตรวจวัดระดับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การเกษตรหลักของชุมชนคือการปลูกอ้อย มันสำปะหลังและทำนา เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยรับการอบรมในเรื่องการป้องกันตนเองจากการสัมผัสสารเคมีทั้งในระหว่างการฉีดยาและภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงานเบื้องต้นในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.66 2) การตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร พบว่า อยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ 73.63 และ 3) จากผลการวิเคราะห์ SWOT แกนนำ พบว่า มีจุดแข็งในด้านโครงสร้างหน่วยงานบุคลากรและแกนนำชุมชนสนับสนุน ขณะที่จุดอ่อน อุปสรรค มาจากเกษตรกรขาดความรู้และเงินทุน และโอกาสพัฒนามาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลเข้าถึงบุคคลได้ง่ายและรวดเร็ว โดยมีการใช้ผลการวิเคราะห์ SWOT กล่าวมาปรับใช้เพื่อนำไปสู่การอบรม

Article Details

How to Cite
วิฑูธีรศานต์ ว. ., คำยัง ณ. ., ย่นพันธ์ จ. ., อินทวงศ์ ร. ., & บุญหนัก ธ. . (2023). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชองค์การบริหารส่วนตำบลคำโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 29–46. https://doi.org/10.14456/jra.2023.76
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). แบบสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560. ระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : องค์การบริหารส่วนตำบลคำโคกสูง จังหวัดอุดรธานี. (อัดสำเนา)

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2560). การศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมปีที่ 2: จังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ณัฐพร ปลื้มจันทร์ และณิชชาภัทร ขันสาคร. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีน เอสเทอเรสในเลือดของเกษตรกรในตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารพิษวิทยาไทย, 30(2), 128-141.

ทวีรัตน์ เฟสูงเนิน และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ทำนา ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(33), 26-36.

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย และพีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2559). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 4(3), 417-428.

วิชชาดา ลิมลา และตั้ม บุญรอด. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(2), 103-113.

สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. (2547). ปฏิรูปชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2551). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2551 และแนวโน้มปี 2552. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2561). องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

แสงโฉม ศิริพานิช และสุชาดา มีศรี. (2555). พิษสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides poisoning). ใน สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2555. (น. 172-174). นนทบุรี : สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.

แสงโฉม ศิริพานิช. (2556). สถานการณ์และผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2556. ข่าวสารความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุ, 18(2), 1-3.

Wananukul. W., et al. (2007). Human poisoning in Thailand: The Ramathibodi Poison Center’s experience (2001–2004). Clin Toxico, 45, 582-8. DOI: 10.1080/15563650701382789