ความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19) ระลอกใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินระดับของความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 370 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดใช้เทคนิคการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยใช้แบบประเมินความเครียด (ST-5) ของกรมสุขภาพจิต ภาพรวมมีระดับความเครียดมาก ค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 2.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.717 และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านสถานภาพทางการเงิน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและชุมชน ด้านสุขภาพทางร่างกาย และด้านสุขภาพทางจิต ซึ่งตัวแปรทั้งห้าตัวสามารถอธิบายความผันแปรของความเครียดของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ได้ร้อยละ 89.3 (R2= 0.893) สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังต่อไปนี้
Y= (-0.012)+0.359(Z1)+0.310(Z2)+(-0.151)(Z3 )+0.171(Z4 )+0.331(Z5)
ตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความเครียดมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว (Z1) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสุขภาพทางจิต (Z5) ด้านสถานภาพทางการเงิน (Z2) ด้านสุขภาพทางร่างกาย (Z4) และด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและชุมชน (Z3) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิต. (2558). แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/.
กรมสุขภาพจิต. (2564). โควิดทำคนเครียดปัญหารุนแรงในครอบครัวพุ่ง. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30860.
ธนภัทร ชุมวรฐายี และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2562). การจัดการความเครียดภัยพิบัติโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก http://www.vl-abstract.ru.ac.th/abstract Pdf/.
ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร. (2563). การดูแลสุขภาพจิตช่วงการระบาดของโควิด-19. เข้าถึงได้จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/.
สรายุทธ เพชรซีก. (2553). ปัจจัยทางครอบครัวที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น : กรณีศึกษาโรงเรียนมีนประสาทวิทยา เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. (ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). คณะพัฒนาสังคม : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุทิน ชนะบุญ. (2560). บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ในสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. ขอนแก่น : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.
อภิญญา อิงอาจ. (2563). ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 94-113.
Bangkokbiznews. (2564). สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19. เข้าถึงได้จาก https://www. bangkokbiznews.com/social/957041.
BBC News ไทย. (2564). โควิด-19: มติ ศบค. เลื่อนเปิดสถานบันเทิง-ปรับทั้งประเทศเป็น “สีส้ม” ยกเว้นจังหวัดนำร่องท่องเที่ยว. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-59904923.
Glamour. (2564). โควิดสร้างความเครียดเรื้อรัง กระทบต่อการทำงานของสมอง. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/2132071.