รูปแบบกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืน

Main Article Content

วิชญ์ บุญรอด
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมต่อยอดสู่การสร้างคู่มือการจัดกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ และ 2) ประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมและประเมินความพึงพอใจหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านของกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอาสาสมัครในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มโรงเรียนผู้สูงอายุวัดพริก ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 60 ราย โดยการคัดเลือกแบบจงเจาะตามเกณฑ์ที่ได้กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ประสบการณ์การใช้ดนตรีพื้นบ้านของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ แบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ และแบบประเมินความพึงพอใจหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้รูปแบบกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ ที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้สูงอายุอย่างแท้จริง ซึ่งมีกระบวนการในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมจากการศึกษาพฤติกรรม กิจกรรมทางสังคม บริบทพื้นที่ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ศักยภาพ และความต้องการทางด้านดนตรี รวมถึงการระดมความคิดเห็นของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่มาปรับประยุกต์ผสมผสานกับการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลางต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นคู่มือกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ 2) ผลจากการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คน อยู่ในระดับค่าเฉลี่ย 4.87 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยการออกแบบคู่มือการจัดกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุนี้ มีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ สีสันสวยงามและน่าดึงดูด ซึ่งสามารถนำไปใช้งานกับกลุ่มผู้สูงอายุได้จริง และผลการประเมินความพึงพอใจหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านของกลุ่มอาสาสมัคร อยู่ในระดับค่าเฉลี่ย 4.83 มีความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
บุญรอด ว. ., & สิทธิวงศ์ ท. . (2023). รูปแบบกิจกรรมการละเล่นดนตรีพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืน . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 173–194. https://doi.org/10.14456/jra.2023.137
บท
บทความวิจัย

References

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2559). ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกายกับสุขภาวะทางจิต สังคม และจิตวิญญาณของผู้สูงอายุสามกลุ่มวัย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(4), 300-313.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปรียา สมพืช และนิษฐา หรุ่นเกษม. (2563). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนริมคลองลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 124-140.

พิภัช สอนใย. (2563). การสร้างสรรค์บทเพลงเพื่อพัฒนาทักษะการดีดจะเข้จากเพลงพื้นบ้านอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(1), 1-21.

รุจา รอดเข็ม. (2562). สังคมสูงวัย: กิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(2), 1-9.

วิชญ์ บุญรอด. (2565). ดนตรีกับผู้สูงอายุ. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชญ์ บุญรอด. (2565). นวัตกรรมเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องดีดและเครื่องตี เพื่อใช้จัดกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 132-153.

วิชนี คุปตะและคณะ. (2561). สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(ฉบับพิเศษ), 444-450.

วิสาขา ภู่จินดา และยลดา พงค์สุภา. (2561). รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 81-87.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2559). แนวทางการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารการบริหารปกครอง, 5(2), 59-74.

สุมิตรา วิชา, ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร, เบญจพร เสาวภา, ธนกฤษ หมื่นก้อนแก้ว, สุภา ศรีรุ่งเรือง, ณัชพันธ์ มานพ และณัฐกานต์ ตาบุตรวงศ์. (2561). การศึกษารูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฮ่องห้า อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43-44), 70-85.

González-Ojea, M. J., Domínguez-Lloria, S., & Pino-Juste, M. (2022). Can Music Therapy Improve the Quality of Life of Institutionalized Elderly People?. Healthcare, 10(2), 310. https://doi.org/10.3390/healthcare10020310

Havighurst, R. J. (1961). Successful aging. The Gerontologist, 1, 8–13.

Hunt, R. (2015). Community-based Nursing. (7th ed.). Philadelphia : Wolters Kluwer/ Lippincott Williams & Wilkins.

Ito, E., Nouchi, R., Dinet, J., Cheng, C. H., & Husebo, B. S. (2022). The Effect of Music-Based Intervention on General Cognitive and Executive Functions, and Episodic Memory in People with Mild Cognitive Impairment and Dementia: A Systematic Review and Meta-Analysis of Recent Randomized Controlled Trials. Healthcare, 10(8), 1462.

Koponen, T., Löyttyniemi, E., Arve, S., & Rautava,P. (2023). Experienced Quality of Life and Cultural Activities in Elderly Care. Ageing International, 48(3), 452-464. https://doi.org/10.1007/s12126-022-09483-9

Moreno-Morales, C., Calero, R., Moreno-Morales, P., & Pintado, C. (2020). Music Therapy in the Treatment of Dementia: A Systematic Review and Meta-Analysis. Frontiers in medicine, 7, 160. https://doi.org/10.3389/fmed.2020. 00160

Phoasavadi, P. (2022). Smart Band Technology: A Music-Based Activity for the Thai Elderly. Journal of Urban Culture Research, 24, 258–271. https://doi.org /10.14456/jucr.2022.16

Ray, K. D. & Mittelman, M. S. (2017). Music therapy: A nonpharmacological approach to the care of agitation and depressive symptoms for nursing home residents with dementia. Dementia (London, England), 16(6), 689–710.

Thanaboonpuang, P., Intana, J. & Khamthana, P. (2023). The Study of Needs and Factors Explaining for Participatory to Create Well-Being Based on New Normal Life of the Older Adult among Urban Community, Ratchaburi Province. Journal of Nursing and Health Sciences, 17(1), 1-13.

Varsi, C., Andersen, L.F., Koksvik, G.T., Severinsen, F. & Paulsen, M.M. (2023). Intervention-related, contextual and personal factors affecting the implementation of an evidence-based digital system for prevention and treatment of malnutrition in elderly institutionalized patients: A qualitative study. BMC Health Services Research, 23(1), 245. https://doi.org/10.1186/ s12913-023-09227-8