การสร้างแนวคิด รูปแบบและขั้นตอนการแสดงสร้างสรรค์สำหรับเด็กเรื่องตำนานเมืองล่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและออกแบบการแสดงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เรื่องตำนานเมืองล่ม เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในการปลูกฝังคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และความกตัญญูให้เกิดกับเด็ก รวมไปถึงเป็นการสร้างความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่นผ่านกระบวนการแสดง ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มผู้มีความรู้ด้านตำนานเมืองล่ม และกลุ่มผู้มีความรู้ความสามารถด้านการเขียนบทละครสำหรับเด็ก นักแสดงหุ่นเชิด นักแต่งเพลง นักออกแบบเครื่องแต่งกายและแสง-สี จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยใช้วิธีการสามเส้า เพื่อนำไปสู่กระบวนการแสดงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เรื่องตำนานเมืองล่ม ผลการวิจัย พบว่า การแสดงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เรื่องตำนานเมืองล่ม ใช้แนวคิดการแปรรูปวรรณกรรมในการสร้างสรรค์บทละครให้อยู่ภายใต้เรื่องของการปลูกฝังคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และความกตัญญู ซึ่งมีรูปแบบการแสดงที่ใช้แนวคิดละครสำหรับเด็กมาผสมผสานกับรูปแบบการแสดงที่หลากหลายโดยมีขั้นตอนในการสร้างสรรค์ 7 ขั้นตอน คือ 1) การออกแบบบทละคร 2) การคัดเลือกนักแสดง 3) การออกแบบตัวละครหุ่น 4) การออกแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหว 5) การออกแบบดนตรีและเพลง 6) การออกแบบเครื่องแต่งกาย และ 7) การออกแบบฉาก แสง สี และอุปกรณ์ประกอบการแสดง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). 8 คุณธรรมพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกียรติสุดา ภิรมย์. (2565, 26 กันยายน). ละครสำหรับเด็ก. (กมลชนก สุวรรณประเวก, ผู้สัมภาษณ์).
จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา. (2544). แปล แปลง แปรรูปบทละคร. กรุงเทพฯ : ศยาม.
ชนันญา ชูนาค. (2558). ละคอนเล็ก: การสร้างสรรค์การแสดง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจใน ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กสำหรับคนรุ่นใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์). คณะศิลปกรรมศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไตรรงค์ ตีรณานนท์. (2565, 26 สิงหาคม). การออกแบบฉาก แสงสีประกอบการแสดง. (กมลชนก สุวรรณประเวก, ผู้สัมภาษณ์).
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้ เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพมาส แววหงส์. (2553). ปริทัศน์ศิลปะการละคร. กรุงเทพฯ : ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรัตน์ ดำรุง. (2565, 2 พฤษภาคม). การสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็ก. (กมลชนก สุวรรณประเวก, ผู้สัมภาษณ์).
พูนสุข บุณย์สวัสดิ์, (2561).คุณธรรมและเจตคติสำหรับเด็ก. เข้าถึงได้จาก: http://www. pecerathailand.org/2018/01/664.html
รจนา สุนทรานนท์. (2537). วิธีสอนและเทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทย. ปทุมธานี : ศูนย์ปฏิบัติการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.
วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2557). กระบวนการสร้างสรรค์บทการแสดงประกอบแสง เสียง เรื่องอุรังคธาตุปกรณัม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 88-112.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.