แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเขากบเอราวัณ จำนวน 260 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน การศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์โดยใช้จำนวนค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์โดยใช้วิธีการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.58) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ รายได้ มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ เน้นการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมทางศาสนา (ไตรสิกขา) ในการดำเนินชีวิต จะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีประสิทธิภาพ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเขากบเอราวัณ จำนวน 260 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน การศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์โดยใช้จำนวนค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์โดยใช้วิธีการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.58) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ รายได้ มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนเขากบเอราวัณ จังหวัดนครสวรรค์ เน้นการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมทางศาสนา (ไตรสิกขา) ในการดำเนินชีวิต จะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีประสิทธิภาพ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 83.
ประภาส บารมี (2546). คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยในชุมชนชาวแพ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก หมวดศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
รัตนา ปันจุติ. (2557). คุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สนธยา สวัสดิ์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้อายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Sizes for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Power, M. J., Bullinger, M., & the WHOQOL Group. (2002). The universality of quality of life: An empirical approach using the WHOQOL. Social Indicators Research Series, 6, 129-149.
The WHOQOL Group. (1944). Development of the WHOQOL: Rationale and current status. International Journal of Mental Health, 23(3), 24-56.