แนวทางการจัดกิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและนำเสนอแนวทางการออกแบบกิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านของไทยสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วิธีวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะจำนวน 5 คน นักท่องเที่ยวจำนวน 100 คน และตัวอย่างกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านฯ จำนวน 5 กิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า รูปแบบและแนวทางการออกแบบกิจกรรมศิลปะฯ ควรมีจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ในด้านความรู้สึกและด้านทักษะที่เกิดขึ้น ด้านการประยุกต์เอาผลงานศิลปะพื้นบ้านไปใช้ในชีวิตประจำวัน เนื้อหากิจกรรมประกอบด้วย การนำเสนอรูปลักษณ์ ที่มา ความเชื่อ เรื่องราวที่น่าสนใจ และการเรียนรู้ทดลองทำชิ้นงานด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม แนวทางการจัดกิจกรรมควรเป็นชุดกิจกรรมที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองที่ไม่ยากจนเกินไป เวลาที่ใช้ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง ขั้นตอนเริ่มจาก ขั้นนำ คือ การสังเกตลักษณะทางกายภาพ แหล่งผลิต เรียนรู้เรื่องราว ตำนานเกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน ส่วนขั้นปฏิบัติกิจกรรม คือ การสร้างผลงานในแต่ละขั้นตอน และขั้นสรุป คือ การสะท้อนคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชื่อมโยงเข้าสู่คุณค่าของศิลปะพื้นบ้าน คุณค่าศิลปะพื้นบ้านที่ควรส่งเสริมให้เห็น ได้แก่ ด้านความรู้สึกและการใช้สอย ด้านเนื้อหาเรื่องราวที่มา ด้านความเชื่อ และด้านกายภาพความงาม สื่อการสอน ควรมีทั้ง Digital Platform และ Social Media Platform บูรณาการกับสื่อสิ่งพิมพ์ แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมที่ชัดเจน มีการจัดหมวดหมู่เพื่อป้องกันการสับสนและเหมาะสมกับทุกช่วงวัย การวัดและประเมินผล ควรมีทั้ง Online และ On Hand เน้นการประเมินผลความสุขที่เกิดขึ้นและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ไม่ควรทำให้รู้สึกว่ากำลังถูกทดสอบ สามารถวัดได้ทั้งก่อนทำ ขณะทำและหลังทำกิจกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). CULTURE + CREATIVE TOURISM ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทย) ไตรมาส 4/2562. Tourism Economic Review, 1(3), 1-68.
ณชนก หล่อสมบูรณ์. (2562). รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเก่าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 97-108.
นฤทธิ์ วัฒนภู. (2555). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์.
นวลลออ ทินานนท์. (2543). ศิลปะพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญไทย เจริญผล. (2549). ศิลปะเด็กปฐมวัย. พระนครศรีอยุธยา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2552). ศิลปะพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2546). ศิลปะชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
วุฒิ วัฒนสิน. (2541). ศิลปะระดับมัธยมศึกษา. ปัตตานี : ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). คู่มือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ร่วมกับคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
Chiangmai city of Craft and Folk Art. (2563). ชุดกิจกรรมโคมประทีปยี่เป็ง. เชียงใหม่ : Chiang Mai City of Crafts and Folk Art.
Chula Creative Tourism. (2563). ความหมาย และกรณีศึกษาของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. เข้าถึงได้จาก https://cucreativetourismias.wordpress.com/28-2/
Mintel. (2022). 2023 Global Consumer Trends. Retrieved from https://www.mintel. com/global-consumer-trends
OKMD. (2560). Education Platform. The Knowledge, 1(6), 3-4.
Remoaldo, P. (2020). Profiling the participants in creative tourism activities: Case studies from small and medium sized cities and rural areas from Continental Portugal. Tourism Management Perspectives, 36, 1-12.
Tymoszuk, U., et al. (2021). Arts engagement trends in the United Kingdom and their mental and social wellbeing implications: HEartS Survey. PLoS One, 16(3), 1-35.