อัตลักษณ์ขององค์กรโดยการรับรู้จากบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในวิถีปกติใหม่ หลังโควิด 19 กรณีจังหวัดชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์บุคลากรทางการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาทที่ส่งผลผลสัมฤทธิ์ในช่วงสภาวะวิฤตโควิด 19 และ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของแนวการพัฒนาอัตลักษณ์บุคลากรทางการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาทในช่วงสภาวะวิฤตโควิด19 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกและประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวและผู้ประกอบการทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย 7 แนวทาง ได้แก่ กระบวนการหล่อหลอมทางสังคมและการเรียนรู้จากสื่อนอกระบบการศึกษา การให้ความรู้ในระบบการศึกษา การฝึกอบรม สัมมนา เพื่อสร้างอัตลักษณ์บุคลากรด้านการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท การศึกษาฝึกอบรมทางออนไลน์ การพัฒนาด้วยศูนย์การเรียนรู้ทางออนไลน์และการพัฒนาด้วยการสอนงาน และ 2) ปัญหา คือ การฝึกปฏิบัติของผู้นำเที่ยวมีข้อจำกัดจากนักท่องเที่ยวและอุปสรรค มี 2 ด้าน ประกอบด้วย การเรียนรู้ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการฝึกอบรมทางออนไลน์ของผู้นำเที่ยวและการสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ดำเนินได้ค่อนข้างยากในการอบรมทางออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ขวัญฤทัย เดชทองคำ. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืนของธุรกิจภายใต้วิกฤติโควิด 19. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 17(2), 1-18.
จันทรัตน์ มั่นวิเชียรและสันติภูมิ ราชวิชา. (2565). การวิเคราะห์อัตลักษณ์บุคลากรการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ชญานุช ปัญญาสวัสดิ์และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0. (น. 1441-1450). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563. (2563, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 93, หน้า 16.
ผุดผ่อง อาสิงสมาพันธ์. (2561). ความท้าทายในการพัฒนาธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว เพื่อรองรับประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิรน์เอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(3), 112-121.
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2566). ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566. เข้าถึงได้จาก http://www.op.chandra.ac.th
พระมหาจักรพล สิริธโธ.(2564). การศึกษาในยุค New Normal. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 346-356.
ศันสนีย์ กระจ่างโฉมและคณะ. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวของภาคการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนภายใต้วิกฤตการณ์การระบาดโควิด-19. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(1), 1-20.
อรัญญา อินอ่อนและคณะ. (2562).รูปแบบการพัฒนาเด็กผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(2), 216-229.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2547). Competency Dictionary. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Gillies, D. A. (1994). Nursing Management. (3rd ed.). Philadelphia : W.B. Saunders.
Ministry of Public Health. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) Situation in Thailand. Retrieved from https://covid19.ddc.moph.go.th/th
Nadler, L. (1980). Corporate Human Resource Development: A Management Tool. Housto : Gulf.
World Health Organization. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) Situation dashboard. Retrieved from https://covid19.who.int/