การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้สะตีมศึกษาให้กับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ณัชชา เจริญชนะกิจ
โสมฉาย บุญญานันต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรม และ 2) กำหนดแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สะตีมศึกษาให้กับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระดับประถมศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการสอบถามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสะตีมศึกษา 400 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านสะตีมศึกษา 3 คน และสัมภาษณ์ครูศิลปะที่มีการสอนศิลปะแบบบูรณาการ 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สรุปผลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่และค่าร้อยละ 2) ข้อมูลความคิดเห็น สรุปผลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นคำนวณหาดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ข้อมูลประเด็นปัญหานำมาจัดลำดับ ข้อมูลความต้องการ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สรุปแล้วนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบความเรียง 3) ข้อมูลเชิงคุณภาพแบ่งการวิเคราะห์เป็น ข้อมูลจากแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยการจำแนกชนิดข้อมูล และข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสะตีมศึกษา โดยจากการสอบถามความคิดเห็นของครู ด้านองค์ความรู้แนวคิดสะตีมศึกษามีดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเฉลี่ยรวมเท่ากับ 0.213 ด้านการนำแนวคิดสะตีมศึกษาไปปฏิบัติมีดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเฉลี่ยรวมเท่ากับ 0.197 ด้านระดับปัญหาและอุปสรรคมีค่าเฉลี่ยรวมในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} =3.38) โดยมีความคิดเห็นสอดคล้องกับผลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านสะตีมศึกษาและครูศิลปะที่มีการสอนศิลปะแบบบูรณาการ 2) แนวทางการออกแบบนวัตกรรมฯ สามารถสรุปเป็น “CHILD Model” แสดงจุดเน้นของการออกแบบนวัตกรรมฯ
5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ส่งเสริมการร่วมมือ 2) สร้างความเข้าใจร่วมกัน 3) ทำให้เห็นความสำคัญ 4) ให้ความรู้ 5) ฝึกทักษะปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
เจริญชนะกิจ ณ., & บุญญานันต์ โ. (2023). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้สะตีมศึกษาให้กับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระดับประถมศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 97–114. https://doi.org/10.14456/jra.2023.80
บท
บทความวิจัย

References

ยุวธิดา คำปวน. (2560). การบูรณาการ: เส้นทางแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 8(1), 25-38.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). สสวท. พัฒนาครูจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะทันโลกยุคใหม่ตามแผน 5 ปี. เข้าถึงได้จาก https://www.ipst.ac.th/news/ 28579/20220614-ipst-3i-2h.html

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2558). รายงานผลการศึกษา สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก http://www.onec.go.th/index.php/book /BookView/1442

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2562). STEAM Education: นวัตกรรมการศึกษาบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), 1-16.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Jamil, F.M., et al. (2018). Early childhood teacher beliefs about STEAM Education after a professional development. Early Childhood Education Journal, 46(4), 409-417.

Katherine, L.B., et al. (2021). Supporting Teachers on Their STEAM Journey: A Collaborative STEAM Teacher Training Program. Education Sciences, 11(3), 105.

Kaufman, R. and English, F.W. (1981). Needs Assessment Concept and Application. (3rd ed.). United states of America : Education technology.

Starfish Academy. (2565). โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (TSQP 2). เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com /blog/770-โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียน-เพื่อยกระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง-tsqp-2

Yakman, G. (2008). STEAM Education: A overview of creating a model of integrative education. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/ 327 351326_STEAM_Education_an_overview_of_creating_a_model_of_integrative_education